วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557

พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์


พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์

พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ ในกาลปางก่อนนั้น อันพระนครวัดนครธมทั้งสองนี้ มีอยู่ในแว่นแคว้นแดนเขมร สร้างเมื่อครั้งพระพุทธศักราชล่วงได้ ๑๔๐๐ พรรษา พระอินทราธิราชทรงพระสุบินว่า แก้วมณีโชติหลุดจากพระโอฐตกลงไปในเปือกตมในมนุษยโลก พระอินทร์มีความเสียดายนัก จะลงมาเก็บเอาดวงแก้วกลับคืนขึ้นไปก็เกลียดนัก ครั้นตื่นจากพระบรรทมจึงส่องทิพยจักษุพิจารณาดูรู้ว่า แต่บรรดาเทวบุตรทั้ง ๗ องค์ซึ่งเป็นบุตรของพระองค์ จะจุติลงไปในมนุษยโลกแล้ว จะได้บำรุงพระพุทธศาสนาสักองค์หนึ่ง จึงตรัสสั่งให้หาเทวบุตรทั้ง ๗ องค์มาเฝ้า ตรัสเล่าเรื่องความในพระสุบินให้ฟังทุกประการ แล้วจึงตรัสว่า เทวบุตรทั้ง ๗ นี้ผู้ใดจะจุติลงไปเกิดในมนุษยโลกบำรุงพระพุทธศาสนาได้บ้าง เทวบุตรทั้ง ๖ องค์ไม่ยอมจะจุติลงมา แต่เกตุเทวบุตรองค์หนึ่งนั้น รับว่าถ้า เป็นการบำรุงพระพุทธศาสนาแล้ว จะขอรับอาษาจุติลงมาเกิดในมนุษย โลก พระอินทร์ก็มีความยินดีในพระหฤทัย จึ่งพระราชทานให้เกตุเทวบุตรลงมาเกิดในครรภ์นางเทพวดีผู้เป็นอัครมเหษีท้าวโกเมราช อันเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครเขมราชธานี ด้วยอานุภาพบุญญาธิการของพระราชกุมารซึ่งอยู่ในพระครรภ์นั้น แต่บรรดานกทั้งหลายบินข้ามมาบนปราสาทที่พระอัครมเหษีอยู่ครั้งใด ก็ตกลงมาตายเห็นเป็นมหัศ จรรย์นัก พวกอำมาตย์ราชมนตรีผู้ใหญ่ผู้น้อยเห็นดังนั้น จึ่งกราบทูล
พระเจ้าโกเมราชว่า ราษฎรชาวพระนครนี้ เป็นคนอยู่ในศีล ๕ ศีล ๘ ประการ มีแต่ความเมตตากรุณาแก่สัตว์ทั้งปวง ถึงว่ามีโทษทัณฑ์กรรมกรณ์ ก็ผันผ่อนหย่อนแก่กัน เอาแต่ความสุข เหตุไฉนพระราชกุมารองค์นี้ ตั้งแต่ปฏิสนธิในพระครรภ์จึ่งให้โทษแก่นกทั้งปวงฉะนี้ พระเจ้าโกเมราชก็พลอยทรงเห็นด้วยกับเสนามนตรีทั้งปวงว่า พระราชกุมารซึ่งอยู่ในพระครรภ์เป็นกาลกินี จึงตรัสสั่งให้เอาพระอัครมเหษีซึ่งทรงครรภ์นั้นไปใส่แพลอยเสีย เสนามาตย์ราชปโรหิตจึ่งทูลทัดทานไว้ว่า ซึ่งจะทำโทษแก่พระอัครมเหษีซึ่งทรงพระครรภ์อยู่นั้นไม่ควร ต่อเมื่อใดประสูติพระราชบุตรแล้ว จึ่งขับเสียจากพระนคร ท้าวโกเมราชจึ่ง ให้งดไว้ ครั้นพระอัครมเหษีประสูติพระราชบุตรแล้ว พระเจ้าโกเมราชก็ขับเสียจากพระนคร พระอัครมเหษีก็พาพระราชบุตรเดินไปได้ความลำบากเวทนา ด้วยเป็นนางกษัตริย์มีแต่ความสุขไม่เคยตกยาก ด้วย เดชบุญญานุภาพของพระราชกุมาร ซึ่งจะได้ครองราชสมบัติในแว่นแคว้นแดนเขมร จึ่งร้อนขึ้นไปถึงพระอินทร์ ๆ ส่องทิพยจักษุดูรู้เหตุแล้ว ก็นฤมิตรเพศเป็นมนุษย์นุ่งห่มผ้าขาวลงมา เดินตามทางพลางย่นมรรคา พาพระราชเทวีกับพระราชกุมารไปได้ ๗ วันถึงดงพระยาไฟ จึ่งนฤมิตรปราสาทให้หยุดพักอาศัยอยู่ แล้วให้เสวยอาหารทิพย์
ลำดับนั้นพระอินทร์จึ่งพาพระราชเทวีกับพระราชกุมาร มาถึงแดนโคกทลอก ไปพักอยู่ที่ภูเขาแห่งหนึ่งข้างทิศใต้ จึ่งให้นางกับพระราชกุมาร อยูในถ้ำแห่งหนึ่งใกล้เมืองพระบาทชันชุม ครั้นพระราชกุมารมีพระชนมายุได้ ๓ ปี มีรูปโฉมอันงามตามวงศ์เทวราช มนุษย์ผู้ใดในมนุษย์โลกนี้ จะมีรูปอันงามเปรียบเหมือนพระราชกุมารนั้นไม่มี พระอินทร์มีความรักใคร่ยิ่งนัก จึ่งนฤมิตรเพศเป็นบุรุษ แกล้งมาเยี่ยมเยือนพระราชเทวีกับพระราชกุมาร พระราชเทวีเห็นก็พูดจาไต่ถามว่า ท่านไปข้างไหนหายไปไม่เห็นมาช้านานแล้ว พระอินทร์จึ่งบอกว่า ข้ากลับไปบ้าน ๆ ข้าอยู่ไกลนัก ข้ารำลึกถึงจึ่งมาหากุมารนี้ข้าจะขอไปเลี้ยงไว้ นางจึ่งว่าท่านมาแล้วหายไป ๒ ปี ๓ ปี ข้าไม่ยอมให้ลูกของข้าไป บุรุษแก่จึ่งว่าครั้งนี้ ข้าจะขอเอาไปชมเล่นสักวันเดียว นางขัดมิได้จึ่งยอมให้แก่บุรุษแก่ ๆ ก็อุ้มพระราชกุมารไป พอลับพระเนตรนางหน่อยหนึ่งก็กลับมาเป็นพระอินทร์ ๆ ก็พาราชกุมารเหาะขึ้นไปดาวดึงส์สวรรค์ พระราชกุมารเห็นเทวสถานพิมานสวรรค์ก็มีความยินดียิ่งนัก เมื่อพระราชกุมารขึ้นไปสู่เทวนครนั้น เทพยดามาเฝ้าพระอินทร์เหม็นกลิ่นมนุษย์ พระอินทร์ก็คิดขวยเขินสะเทินพระหฤทัย จึ่งชวนพระราชกุมารลงมา พระราชกุมารไม่ปรารถนาจะลงมา ร้องไห้รักทิพยพิมานในสวรรค์ พระอินทร์จึ่งว่า ดูกรกุมารเจ้าจงกลับลงไปเมืองมนุษย์เถิด เราจะสร้างเมืองให้อยู่ให้งามดุจเมืองสวรรค์นี้ พระอินทร์ก็พาพระราชกุมารมายังสำนักพระนางซึ่งเป็นพระมารดา
ในวันนั้นแล้วพระอินทร์จึ่งเหยียบศิลาแห่งหนึ่งเป็นรอยพระบาทไว้บนยอดเขา เห็นเป็นรอยปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ เมืองซึ่งอยู่ในริมเขานั้นจึ่งได้ปรากฏนามชื่อว่า เมืองพระบาทชันชุม แล้วพระอินทร์จึ่งส่องทิพยจักษุพิจารณาดูรู้ว่า ในแว่นแคว้นแดนโคกทลอกนี้ เป็นที่ชัยภูมิ สมควรจะสร้างพระนครให้พระราชกุมารอยู่ได้ จึงตรัสใช้ให้พระพิศณุกรรมลงมา สร้างพระนครโคกทลอก เมื่อพระพิศณุกรรมลงมาสร้างพระนครถวาย
ให้พระราชกุมารกับพระมารดาอยู่ ฝ่ายราษฎรที่อยู่ในป่าก็มาอยู่ด้วย พระราชกุมารบ้างแต่ยังน้อยนัก พระอินทร์เห็นว่าราษฎรยังน้อยนัก จะให้ชนชาวเมืองเขมราชธานีมาอยู่อีกให้มาก จึ่งเหาะมานฤมิตรกายเป็นช้างเผือกใหญ่อยู่ณป่าแดนเมืองเขมราชให้พรานป่าเห็นแล้ว ช้างนั้น ก็เดินลัดมาถึงที่ใกล้พระนครโคกทลอก พรานป่าตามมาถึงที่ใกล้พระนครนั้น ช้างเผือกก็หายไป เห็นแต่รอยเท้าปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ พรานป่าได้เห็นพระนครงามนัก จึงเข้าไปพิจารณาดูรู้ว่า พระราชกุมารกับพระอัครมเหษีพระเจ้าโกเมราชที่เป็นเจ้าของตน มาครองสมบัติอยู่ในเมืองนั้น ก็มีความยินดียิ่งนัก พรานป่าก็เร่งรีบกลับมากราบทูลพระเจ้าโกเมราชตามที่ตนได้เห็นทุกประการ พระเจ้าโกเมราชจึ่งให้เสนามนตรี คุมไพร่พล ๕๐๐๐ มาเชิญพระราชกุมารกับพระอัครมเหษี จะให้กลับไปเมืองเขมราช พระราชกุมารกับพระมารดาไม่กลับไป เสนามนตรีกับไพร่พล ๕๐๐๐ ก็อยู่ด้วยกับพระราชกุมารทั้งสิ้น พระเจ้าโกเมราชเห็นหายไปไม่กลับมา จึ่งใช้เสนามนตรีคุมไพร่พลไปอีกหมื่นหนึ่ง เสนามนตรีกับไพร่พลหมื่นหนึ่งนั้น ก็ชวนกันอยู่กับพระราชกุมารไม่กลับไป แต่พระเจ้าโกเมราชให้เสนามนตรีมา จะรับพระราชกุมารไปถึง ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง พระราชกุมารก็ไม่กลับไป ไพร่พลทั้งหลายก็ยอมอยู่กับพระราชกุมารสิ้น พระเจ้าโกเมราชจึงยกพวกพลโยธามาตามเสด็จ มาถึงพระนครโคกทลอก ได้เห็นพระราชกุมารกับพระอัครมเหษี ก็มีพระหฤทัยยินดียิ่งนัก จะชักชวนพระราชกุมารสักเท่าใด ๆ พระราชกุมารก็ไม่กลับไป พระเจ้าโกเมราชจึ่งราชาภิเษกพระราชกุมาร ให้เสวยราชสมบัติอยู่พระนครโคกทลอก
ตั้งพระนามชื่อว่า พระเจ้าเกตุมาลามหากษัตริย์ พระอินทร์ ได้ทรงทราบเหตุนั้น จึงบันดาลพระขรรค์ทิพย์สำหรับกษัตริย์ให้ตก ลงมาตามที่ประชุมเสนาอำมาตยราชบรรษัททั้งปวง ในราชาภิเษก พระเจ้าเกตุมาลา เห็นเป็นมหัศจรรย์นัก พระขรรค์นั้นยังอยู่จนทุก วันนี้ แว่นแคว้นแดนเมืองโคกทลอกนั้นจึ่งได้นามปรากฏชื่อว่า เมือง อินทปัตถมหานคร ฝ่ายเจ้าโกเมราชที่เป็นพระราชบิดา ก็พา พระอัครมเหษีผู้เป็นมารดาพระเจ้าเกตุมาลาเสด็จกลับไปเมืองเขมราช พระเจ้าเกตุมาลาเสวยราชสมบัติสืบมา บรรดาอาณาประชาราษฎรก็อยู่เย็นเป็นสุข กิติศัพท์นั้นก็เลื่องลือไปทุกประเทศ กษัตริย์ทุพระนครนำเอาดอกไม้ทองเงินมาถวาย พระเจ้าเกตุมาลาเสวยราชสมบัติมาช้านานได้หลายปี แต่ไม่มีพระราชบุตรพระราชธิดาที่จะสืบวงศ์กษัตริย์ต่อไป จึ่งทรงพระอุตส่าห์รักษาศีลจำเริญภาวนา ปรารถนาพระราชโอรส ได้ ๗ วัน จึ่งร้อนไปถึงทิพยอาสน์แห่งพระอินทร์ ๆ ส่องทิพยจักษุ ลงมาเห็นว่า พระเจ้าเกตุมาลาทรงพระอุส่าห์รักษาศีล ตั้งพระทัยปรารถนาพระราชบุตร ที่จะสืบตระกูลวงศ์กษัตริย์ต่อไป พระอินทร์ จึ่งเชิญเทวบุตรองค์หนึ่ง ให้จุติลงมาเกิดในดอกประทุมชาติในสระแห่งหนึ่ง แล้วบันดาลให้พระเกตุมาลา พาบริวารเสด็จไปประพาสป่า พบพระกุมารอยู่ในดอกประทุมชาติ เอาเลี้ยงไว้เป็นพระราชบุตรบุญธรรม ครั้นพระราชกุมารเจริญขึ้น พระเจ้าเกตุมาลาตั้งพระนามว่า พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ เวลาวันหนึ่งพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์เสด็จไปเที่ยว ประพาสป่าจึ่งไปถึงโคกทลอก เหตุมีไม้ทลอกต้นหนึ่งใหญ่นัก ลำต้นเอนไปข้างทิศอาคเนย์ นอนราบถึงพื้นปฐพี ๆ ลึกลงไปเป็นรอยปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ แผ่นดินงอกขึ้นสูงประมาณ ๒ วา ถึงค่าคบ แตกกิ่งใบ ตั้งขึ้นเป็นที่ร่มเย็น และไม้ทลอกต้นนี้คำโบราณเล่าสืบกันมาว่า
เมื่อครั้งปฐมกัลป์ ประเทศที่นี้ยังเป็นมหาสมุทรอยู่ พระยานาคชื่อว่าท้าวชมภูปาปะกาศ ไปรับอาษาพระอิศวร เอาขนดตัวพันเข้ากับพระเมรุ์ มิให้เอนเอียงได้ ฝ่ายพระพายขัดใจจึ่งพัดให้เขาพระเมรุ์เอนเอียงไปได้ พระพายเอาพระขรรค์ตัดศีรษะพระยานาคขว้างมาตกลงที่นั้น พระอิศวรทรงพระเมตตานัก จึ่งเอายาทิ้งลงมาสาปสรรว่า ถ้าศีรษะท้าวชมภู ปาปะกาศตกลงมาที่ใด ก็ให้เกิดเป็นโคกและต้นไม้อยู่ในที่นั้น จึงเกิด เป็นโคกมีต้นทลอกใหญ่ต้นหนึ่ง จึ่งได้เรียกว่าโคกทลอก ฝ่ายพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์เห็นต้นทลอกเอนอยู่ดังนั้น ก็ให้มหาดเล็กเอาพระยี่ภู่ไปลาดบนต้นทลอกนั้น แล้วเสด็จขึ้นไปบรรทม พอเวลาเย็นต้นทลอกนั้นก็ค่อยตรงขึ้นทีละน้อยๆ พระเจ้าสุริยวงศ์บรรทมหลับ ต้นทลอก ก็ตั้งตรงขึ้นดุจมีผู้ยกขึ้น พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์จึ่งตื่นจากพระบรรทม ให้หวาดหวั่นพระหฤทัย จึ่งเหนี่ยวกิ่งทลอกไว้ จะเลื่อนพระองค์ลงมา ก็ไม่ได้ เสด็จนั่งอยู่บนค่าคบจนต้นทลอกตรงขึ้นสูงสุด เป็นอัสจรรย์ในพระหฤทัยนัก จะเรียกมหาดเล็กข้าเฝ้าทั้งปวงก็ไม่ได้ยิน ฝ่ายบรรดาไพร่พลเสนาข้าเฝ้าทั้งปวงก็ตกใจ คอยอยู่ใต้ต้นทลอกทั้งสิ้น พอเพลาพระอาทิตย์อุทัย ต้นทลอกนั้นจึ่งเอนลงราบถึงพระธรณีดังเก่า พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์จึ่งลงจากต้นทลอกมายังบรรดาข้าเฝ้า ๆ ก็มีความยินดีนัก ครั้นรุ่งขึ้นเพลาเช้านางนาคผู้เป็นธิดาพระยานาค ชวนบริวารขึ้นมาเล่นน้ำในทะเลสาบ แล้วว่ายเข้ามาตามลำคลองจนถึงที่ใกล้ต้นทลอก พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์เห็นนางนาค ก็พาพวกอำมาตย์ราชเสนาทั้งปวงเข้าล้อมจับ ๆ นางนาคได้แล้ว พามาไว้ที่ต้นทลอก ได้สมัครสังวาสแล้ว ตั้งเป็นพระอัครมเหษี ขณะเมื่อพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์จับนางนาคได้นั้น ฝ่ายบริวารนางนาค ก็พากันหนีกลับไปเเจ้งความแก่พระยานาคผู้บิดา ๆ จึ่งให้หาพระราชบุตรซึ่งเป็นน้องนางนาค ให้เกณฑ์พวกพลนาคขึ้น มาตามพบกับพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ได้รบกัน แพ้พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ ๆ จับได้จะฆ่าเสีย นางนาคผู้เป็นอัครมเหษีจึ่งทูลขอชีวิตไว้แล้ว พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ก็ปล่อยให้กลับคืนไปเมืองนาค นาคกุมารจึ่งแจ้งความแก่พระยานาคผู้เป็นพระบิดาทุกประการ พระยานาคก็คิดว่า บุตรหญิงเราเขาก็จับได้ไปเลี้ยงเป็นภรรยา ครั้นให้บุตรชายไปติดตามได้ รบกันแพ้เขาๆ จับได้ก็ไม่ได้ฆ่าแล้วปล่อยมา คุณของเขามีแก่เรา เป็นอันมาก จึ่งจัดเครื่องราชบรรณาการ ให้บริวารนำขึ้นมาถวาย พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ ให้เชิญพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์กับพระราชธิดาลงไปเมืองนาค พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์กับนางนาคผู้เป็นพระอัครมเหษี ก็ลงไปอยู่เมืองนาคประมาณกึ่งเดือน พระยานาคจึ่งตรัสแก่พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ว่า ท่านเป็นมนุษย์จะมาอยู่ในเมืองนาคไม่สมควร จงกลับขึ้นไปเมืองมนุษย์ เห็นภูมิถานที่ใดควรจะสร้างพระนครได้ก็ให้ลงมาบอกข้าพเจ้า ๆ จะขึ้นไปช่วยสร้างให้ พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ก็ลาพระยานาคพานางนาคขึ้นมาอยู่ที่ต้นทลอก แล้วพานางนาคไปเฝ้าพระเจ้าเกตุมาลา ผู้เป็นพระบิดาเลี้ยง ทูลเล่าเรื่องความถวายทุกประการ
พระเจ้าเกตุ มาลามีพระหฤทัยยินดีนัก จึ่งให้พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์กับอำมาตย์ราชเสนาไปเที่ยวดูที่ภูมิสถานสมควรจะสร้างพระนครได้พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ ก็เห็นว่า โคกที่ต้นทลอกตั้งอยู่นั้น ควรจะสร้างพระนครอันใหญ่ได้ แล้วพากันกราบทูลพระเจ้าเกตุมาลา ๆ จึงให้พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์กับ นางนาคลงไปทูลแก่พระยานาค ๆ ก็พาพวกพลนาคขึ้นมาสร้างพระนครอันใหญ่ถวายพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์อยู่ให้ชื่อว่านครธม
พระเจ้าเกตุมาลา ก็ราชาภิเษก พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ขึ้นทรงราชย์อยู่ในนครธมอันใหญ่ ครั้นนานมาพระเจ้าเกตุมาลาก็ถึงแก่พิราลัย พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ก็ถวายพระนครที่พระเจ้าเกตุมาลาผู้เป็นพระบิดาเลี้ยงเสด็จอยู่นั้นเป็นพระอาราม นิมนต์ให้พระพุทธโฆษาจารย์อยู่ เมื่อพระพุทธโฆษาจารย์กลับเข้ามาแต่ลังกาทวีป เพราะเหตุที่พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ทรงพระราชอุทิศถวายเมืองโคกทลอกเป็นวัด จึ่งได้นามชื่อว่าพระนครวัดตั้งแต่นั้นมา
พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ก็ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายแก่พระยานาคเป็นพระเจ้าพ่อตาทุกปี ครั้งนั้นแต่บรรดากษัตริย์ทุกพระนคร ต้องไปขึ้น แก่พระนครธมอันใหญ่ ด้วยบารมีของพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ เมือง สุโขทัยไปส่งส่วยน้ำ เมืองตลุงส่งส่วยไหม เมืองละโว้ส่งส่วยปลาแห้ง ส่วนพระยานาคผู้เป็นพระเจ้าพ่อตาถึงแก่พิราลัยแล้ว พระราชบุตรพระยานาคซึ่งเป็นน้องนางนาคนั้น ก็ได้ผ่านพิภพนาคแทนพระบิดา พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ได้ทรงราชย์มาช้านานแล้ว พุทธศักราชล่วงได้ ๑๕๐๑ ปี จึ่งพระร่วงบังเกิดขึ้นในเมืองสุโขทัย ได้เป็นนายกองส่วยน้ำ จึ่งให้สานชะลอมใส่น้ำไปส่งพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ ๆ ได้เห็นชะลอมใส่น้ำมาได้ไม่รั่ว จึ่งตรัสถามว่าผู้ใดเป็นผู้จัดให้เอาชะลอมใส่น้ำมาส่งไม่รั่วได้ดังนี้ พวกไทยซึ่งคุมชะลอมน้ำไปนั้นจึ่งกราบทูลว่า นายร่วงผู้เป็นนายกองว่ากล่าวสิ่งใดศักดิ์สิทธิ์ทุกประการ ให้สานชะลอมใส่น้ำมาถวาย พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์จึ่งตรัสว่า เมืองไทยเกิดผู้มีบุญขึ้นแล้ว ตั้งแต่นี้ไปเมืองไทยจะไม่ได้ขึ้นแก่เมืองเขมรแล้ว พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์จึ่งว่าแก่ไทยซึ่งเป็นนายคุมน้ำไปถวายว่า อย่ามาส่งน้ำอีกเลย พวกไทยก็พากันกลับมาบอกแก่นายร่วง ขณะนั้นพระยาเดโชดำดินเจ้าเมืองขอมเข้ามาเฝ้า จึ่งตรัสบอกว่าเดี๋ยวนี้มีผู้มีบุญเกิดขึ้นที่เมืองไทย ได้เอาชะลอมใส่น้ำมาส่งแก่เมืองเราเห็นเขาจะไม่ขึ้นแก่เมืองเราแล้ว พระยาเดโชดำดินจึ่งกราบทูลว่า กระหม่อมฉันจะขอรับอาษาไปจับนายร่วงให้จงได้ พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ห้าม ว่า อย่าไปจับเขาเลย พระยาเดโชดำดินไม่ฟัง แล้วก็กราบถวายบังคมลามาจัดกองทัพ เร่งรีบยกมา ตัวพระยาเดโชดำดินนั้นดำมาโผล่แผ่นดินนายร่วงรู้ข่าวว่า เมืองเขมรยกทัพมาจับตัว ก็หนีไปถึงแดนเมือง พิจิตร ไปอาศัยอยู่ริมวัด จึ่งขอข้าวปลาอาหารชาวบ้านนั้นกิน ชาวบ้านก็ให้อาหารกับปลาหมอกิน ครั้นนายร่วงกินเนื้อเสียแล้วยังแต่ก้างจึ่ง ทิ้งลงในน้ำ ก้างปลานั้นก็กลับเป็นขึ้นว่ายน้ำอยู่ พระยาเดโชดำดิน ครั้นดำดินไปถึงบ้านที่นายร่วงอยู่ก็ผุดขึ้นถามชาวบ้าน ๆ บอกว่านายร่วงหนีไปอยู่บ้านอื่นแล้ว พระยาเดโชดำดินก็ดำดินติตามไป ครั้นนายร่วงรู้ก็หนีไปอาศัยอยู่ณวัดเมืองสุโขทัย ให้เจ้าอธิการบวชให้เป็นภิกษุ
ครั้นเพลาวันหนึ่ง พระร่วงลงมากวาดลานวัด พระยาเดโชดำดินก็ผุดขึ้นที่ใกล้พระร่วงซึ่งยืนอยู่นั้น แต่ไม่รู้จักตัวพระร่วง จึ่งถามว่า พระร่วงอยู่ที่ไหน พระร่วงจึ่งว่า อยู่ที่นี่ก่อนเทอญ เราจะไปบอกพระร่วงให้ พระยาเดโชดำดินก็ผุดขึ้นมาได้ครึ่งกายติดอยู่ไปไม่ได้ ครั้นนานมา รูปกายพระยาเดโชดำดิน ก็กลายเป็นศิลาไป จึ่งเรียกว่าขอมดำดิน ตั้งแต่ครั้งนั้นมา
พระพุทธศักราชได้ ๑๕๐๒ พระเจ้าสุโขทัยถึงแก่พิราลัย ไม่มีพระราชวงศานุวงศ์ที่จะครองราชสมบัติสืบไป เสนาบดีจึงไปอัญเชิญพระร่วง มาครองเมืองสุโขทัย พระร่วงจึ่งทรงพระดำริว่า พระเจ้าปทุม สุริยวงศ์ตรัสว่าไม่ให้เอาน้ำไปส่งแล้ว เหตุใดจึ่งให้พระยาเดโชดำดินมาจับเราเล่า เราจะยกกองทัพไปจับพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์บ้าง จึ่งตรัส สั่งให้เกณฑ์พวกพลโยธาเป็นอันมาก ยกจากเมืองสุโขทัยไปถึงเมืองเสียมราบจนถึงพระนครธม พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ทรงทราบจึ่งตรัสสั่งว่า ให้พระร่วงมาเปิดประตูพระนครเทอญ พระเจ้าร่วงจึ่งยกพลไปเปิดประตูเมืองไม่ได้ พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์เห็นว่า พระเจ้าร่วงเปิดประตูเมืองไม่ได้ แล้วจึ่งตรัสว่า เราจะให้ประตูเปิดเอง ให้พระเจ้าร่วงเข้ามาเฝ้าเราให้จงได้ พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ตรัสดังนั้นแล้วจึ่งตรัสว่า ประตูเปิดเสีย ให้พระยาร่วงเข้ามาเฝ้าเรา ประตูก็เปิดออกในทันใดนั้น พระเจ้าร่วงกับพวกพลไทยทั้งปวง กลัวพระเดชานุภาพกราบถวายบังคมชมพระบารมีพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ ตั้งแต่พระนครธมนครวัดจนถึงเมืองเสียมราบ จึ่งได้ชื่อว่า เสียมราบแต่นั้นมา เมื่อพระเจ้าร่วงได้เฝ้า แล้วทรงนับถือเป็นอันมาก พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ก็พระราชทานทรัพย์สิ่งของทองเงินโภชนาหารให้พระเจ้าร่วง และไพร่พลทั้งปวงกินอยู่ ผาสุกยิ่งนัก เมื่อพระยาร่วงทูลลากลับมา พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ให้ เอาทรัพย์สิ่งของทองเงินในท้องพระคลังออกมาพระราชทานให้พระเจ้าร่วง และขุนนางกับไพร่ทั้งปวง เอามาตามปรารถนาทุกคน ทรัพย์ในท้องพระคลังก็ไม่พร่อง พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์มีบุญญาธิการยิ่งนัก พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์มีพระราชบุตรด้วยพระสนมองค์หนึ่ง ทรงพระนามชื่อว่าพระเจ้ากรุงพาล
พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ทรงราชย์มาช้านาน ท้าวพระยายอมถวายดอกไม้ทองเงินอยู่เนืองนิจ พระชนมายุได้ ๑๐๐ ปี เศษ ทรงพระชราถึงแก่พิราลัย กรุงไทยก็มิได้ ส่วยน้ำ ส่วยปลาแต่นั้นมา พระเจ้ากรุงพาลที่เป็นพระราชบุตร ก็ได้ทรงราชย์สืบกษัตริย์สุริยวงศ์ ต่อลงมา แต่พระเจ้ากรุงพาลองค์นี้ ไม่ได้เอาส่วยไปส่งแก่พระยานาค ๆ ไม่เห็นชาวเมืองเขมรเอาส่วยมาส่งช้านานแล้ว จึ่งให้นาคที่เป็นเสนามนตรีมาตักเตือน ให้เอาส่วยไปส่ง พระเจ้ากรุงพาลก็มิยอมเอาส่วยไปส่ง ว่าแต่ก่อนนั้น บิดาของพระยานาคองค์นี้ เป็นพระเจ้าพ่อตาของพระราชบิดาเรา ได้มีคุณแก่กันเป็นอันมาก กรุงเขมรจึ่งได้เอาส่วยไปส่งแก่เมืองนาค เดี๋ยวนี้เรากับพระยานาคก็มิได้มีคุณสิ่งใดแก่กัน เราจะให้เอาส่วยไปส่งต้องการอะไร นาคซึ่งเป็นเสนามนตรีก็กลับลงไปทูลความแก่ พระยานาค ๆ ได้ฟังก็โกรธ จึ่งยกพวกพลโยธาขึ้นมาถึงอินทปัตถมหานคร จึ่งให้นาคกุมารเข้าไปต่อว่า ว่าเหตุใดไม่เอาส่วยไปส่ง พระเจ้ากรุงพาลจึ่งว่าแก่นาคกุมารเหมือนอย่างว่าแก่นาคเสนา เมื่อพระยานาคให้มาต่อว่าครั้งก่อนนั้น นาคกุมารจึ่งกลับไปทูลความแก่พระยานาค ๆ โกรธ จึ่งยกพลเข้ารบเอาพระนคร พระเจ้ากรุงพาลจึ่งออกต่อรบด้วยพระยานาค ๆ ปราชัย
พระเจ้ากรุงพาลจับได้ ตัดศีรษะพระยานาค โลหิตพระยานาคก็กระเด็นไปต้องพระองค์พระเจ้ากรุงพาล ฝ่ายบริวารพระยานาคก็พากันกลับไปยังเมืองนาค ครั้นอยู่มาพระเจ้ากรุงพาลเกิดโรคเรื้อนทั่วทั้งพระกาย เพราะโลหิตของพระยานาคต้องพระองค์ พระเจ้ากรุงพาลให้แพทย์รักษาก็ ไม่หาย ยังมีพระฤษีองค์หนึ่งอยู่ในป่าหิมพานต์ บอกฤษีผู้บริวารของตนว่า ข้าจะไปเที่ยวเล่นที่เมืองอินทปัตถสัก ๓ เดือนจะกลับมา พระฤษี องค์นั้นก็เหาะมา บัดเดี๋ยวหนึ่งก็ถึงเมืองอินทปัตถมหานคร เห็นบุรุษชรานุ่งผ้าขาวจึ่งถามว่า เมืองนี้เรียกเมืองอะไร บุรุษชรานุ่งผ้าขาว จึ่งบอกว่า เมืองอินทปัตถมหานคร พระฤษีจึ่งว่า เมืองนี้สนุกนักหนา แต่กษัตริย์ซึ่งครองราชสมบัตินั้นเป็นโรคเรื้อน พระชนมายุนั้นน้อยไม่ สมควรที่จะครองพระนครอยู่ได้ เราจะชุบให้กษัตริย์องค์นี้มีชนมายุยืนยาวไปนาน ให้ได้เสวยราชสมบัติสมควรแก่พระนคร บุรุษชรานุ่งผ้าขาว ไปกราบทูลต่อพระเจ้ากรุงพาลว่า มีฤษีองค์หนึ่งมาว่าจะชุบชีวิตพระองค์ ให้หายโรคมีพระชนมายุยืน พระเจ้ากรุงพาลจึ่งตรัสสั่งให้นิมนต์พระ ฤษีเข้าไปในพระราชวัง ตรัสสั่งให้ไปเอากะทะเหล็กใหญ่มาตั้งขึ้นบนเตา ติดไฟใส่น้ำเคี่ยวให้เดือด แล้วพระฤษีจึ่งว่า เชิญมหาบพิตรพระราชสมภารลงไปอยู่ในกะทะเทอญ พระเจ้ากรุงพาลจึ่งตรัสว่า จะทำประการใดจึ่งจะให้เห็นปรากฏแก่จักษุทั้งปวง อำมาตย์ผู้หนึ่งจึ่งจับสุนัขใส่ลงในกะทะ สุนัขนั้นก็ตาย พระฤษีจึ่งเอายาโรยลงไปในกะทะ สุนัขก็เป็น ขึ้น มีรูปกายงามกว่าแต่ก่อน พระเจ้ากรุงพาลก็ยังไม่เชื่อลงเป็นแท้ จึ่งตรัสสั่งให้อำมาตย์คนหนึ่งลงไปในกะทะนั้น พระฤษีจึ่งเอายาโรยลงอำมาตย์นั้นก็เป็นขึ้น รูปงามดุจเทวดา พระเจ้ากรุงพาลก็ยังไม่เชื่อ พระเจ้ากรุงพาลจึ่งตรัสว่า นิมนต์พระมหาฤษีลงในกะทะก่อนเทอญ ข้าพเจ้าจึ่งจะเชื่อ พระมหาฤษีก็เปลื้องเครื่องบริขารออกจากกาย จึ่งสั่งไว้ว่า ถ้าอาตมาภาพลงไปในกะทะแล้ว จงเอายี้โรยลงไปในกะทะ พระมหาฤษีสั่งเสร็จแล้วก็ส่งห่อยาให้แก่พระเจ้ากรุงพาล แล้วก็ลงไปในกะทะ กายพระฤษีนั้นก็ละลายเป็นน้ำ พระเจ้ากรุงพาลก็เอายาโรยลงในกะทะครึ่งหนึ่ง จึ่งบังเกิดเป็นมือเป็นเท้าขึ้น พระเจ้ากรุงพาลก็ไม่เอายาโรยลงไปอีกให้สิ้น พระเจ้ากรุงพาลจึ่งสั่งให้อำมาตย์หามเอากะทะไปเทเสียที่ริมเชิงเขาอยู่ทิศใต้พระนคร
ช้านานได้ ๓ เดือน พระมหาฤษีผู้เป็นอาจารย์ใหญ่ไม่เห็นพระฤษีที่มาชุบพระเจ้ากรุงพาลนั้น จึ่งถามฤษีที่เป็นบริวารทั้ง ๕๐๐ ว่า พระผู้เป็นเจ้าของท่านทั้งปวงนี้ไปข้างไหน พระฤษี ที่เป็นบริวารจึ่งแจ้งความว่า พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้าไปเมืองอินทปัตถ มหานคร จึ่งพระมหาฤษีเป็นครูผู้ใหญ่เหาะมาถึงเมืองอินทปัตถมหานคร จึ่งถามชาวเมืองทั้งหลายว่า ท่านได้เห็นฤษีองค์หนึ่งมาเมืองนี้บ้างหรือไม่ชาวเมืองจึงบอกว่า ได้เห็นอยู่แต่ฤษีองค์นั้นมาว่าจะชุบพระมหากษัตริย์ขึ้นให้หายโรคให้รูปงามให้พระชนมายุยืนยาวไปนาน พระมหากษัตริย์ไม่เชื่อ จึ่งให้พระฤษีนั้นลงไปในกะทะก่อน ฤษีนั้นจึ่งสั่งว่า เมื่ออาตมาภาพลงไปในกะทะแล้ว จงเอายาโรยลงไปในกะทะ พระมหากษัตริย์เอา ยาโรยลงไปก็ไม่เป็นขึ้น พระมหากษัตริย์จึ่งให้อำมาตย์เอากะทะนั้นไปเทเสียที่ภูเขาข้างทิศใต้พระนคร พระฤษีที่เป็นอาจารย์รู้ดั่งนั้นแล้ว จึ่งไปตามที่ภูเขานั้น ได้เห็นศพฤษีผู้ตายนั้น พระฤษีผู้เป็นอาจารย์จึ่งชุบขึ้น แล้วถามว่าเหตุใดท่านจึ่งมาตายอยู่ที่นี้ พระฤษีนั้นจึ่งบอกว่า ข้าพเจ้ามาหวังจะชุบให้กษัตริย์นั้นมีรูปงามและอายุยืน กษัตริย์ก็ไม่เชื่อ จึ่งให้จับเอาสุนัขมาใส่ลงในกะทะแล้ว ข้าพเจ้าก็เอายาโรยลงไปก็เป็นขึ้น แล้วกษัตริย์นั้นก็ยังไม่เชื่อ แล้วตรัสบังคับให้อำมาตย์คนหนึ่งลงไปใน กะทะอีก ข้าพเจ้าก็เอายาโรยลงไปก็เป็นขึ้น รูปก็งามยิ่งกว่าแต่ก่อน แต่กษัตริย์นั้นยังไม่เชื่อ จึ่งให้ข้าพเจ้าลงไปในกะทะ เมื่อข้าพเจ้าจะลง ไปในกะทะจึ่งสั่งไว้ว่า ให้เอายาโรยลงไป กษัตริย์นั้นก็ไม่ได้โรยยาตามข้าพเจ้าสั่งไว้ ข้าพเจ้าจึ่งได้ถึงความตายฉะนี้
ฤษีทั้งสองมีความโกรธนัก จึ่งพากันมาเมืองอินทปัตถมหานครที่พระเจ้ากรุงพาลอยู่นั้น ฤษีทั้งสองจึ่งแช่งว่า เรามีจิตต์เมตตาจะชุบท่านขึ้นให้รูปงามให้อายุยืนให้หายโรคท่านกลับมาประทุษร้ายแก่เรา ตั้งแต่นี้ไปอย่าให้ท่านหายโรคอย่าให้ ท่านครองสมบัติอยู่ช้านานได้ และเมืองอินทปัตถนี้ กษัตริย์องค์ใด ได้ครองราชสมบัติแล้ว อย่าได้อยู่นานได้ ให้เสื่อมสูญเป็นบ้าไป แล้วพระฤษีทั้งสองก็พากันไปป่าหิมพานต์ พระเจ้ากรุงพาลก็เป็นโรคเรื้อนไม่หาย จึ่งพานักสนมบริวารไปรักษาพระองค์ที่ภูเขา ๘ เหลี่ยมแต่ทุกวันนี้เรียกว่า เขากุเลน คำไทยว่า เขาลิ้นจี่ พระเจ้ากรุงพาลรักษาโรคเรื้อนไม่หายก็ถึงแก่พิราลัย รูปกายพระเจ้ากรุงพาลและนางนักสนม ก็กลายเป็นสิลาไปยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ ตั้งแต่นั้นมา กษัตริย์ในแว่นแคว้นแดนเขมร ที่เสวยราชสมบัติในพระนครธมนั้นไม่อยู่นานได้ โดยลำดับมาหลายพระองค์
จนถึงกษัตริย์องค์หนึ่ง เดิมชื่อนายพรมเป็นพ่อค้าโค ได้เสวยราชสมบัติตั้งพระนครอยู่ข้างฟากแม่น้ำในทิศตะวันออกแห่งพระนครธม ก่อกำแพงด้วยศิลาแลงปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ นายพรมได้เสวยราชสมบัติได้ ๒๐ ปีก็ถึงแก่พิราลัย มีพระราชบุตรองค์หนึ่ง ได้เสวยราชสมบัติสืบต่อมา พระมหากษัตรีย์นั้นไม่มี พระราชบุตร ครั้นนานมาก็ทรงพระชราทรงพระประชวร จึ่งให้โหรทำนาย ๆ ว่าผู้มีบุญมาบังเกิดในครรภ์หญิงเข็ญใจในพระนครนี้ พระมหากษัตริย์จึ่งสั่งให้อำมาตย์ไปจับหญิงเข็ญใจที่มีครรภ์มาฆ่าเสีย โหรจึ่ง ทูลห้ามว่า ที่จะจับหญิงมีครรภ์มาฆ่าเสียให้สิ้นนั้นก็จะเป็นกรรมเวร ไป แต่อาการที่ผู้มีบุญมาบังเกิดในครรภ์หญิงนั้น เป็นคนเข็ญใจเที่ยว เก็บฟืน ถ้าเก็บฟืนได้ เอามัดฟืนขึ้นทูลบนศีรษะเดินมา เมื่อจะหยุดพัก นั้น ก็เอามัดฟืนวางไว้ แล้วเอาผ้าที่รองบนศีรษะนั้นวางบนมัดฟืนรองนั่ง เหตุว่าบุตรที่ในครรภ์นั้นแลเป็นผู้มีบุญ ถ้าเห็นดั่งนั้นแล้วจึ่งฆ่าหญิง เข็ญใจที่มีครรภ์คนนั้นเสียเทอญ พระมหากษัตริย์ได้ทรงฟังโหรกราบทูลดังนั้น จึ่งให้อำมาตย์ไปเที่ยวสอดแนมดู ครั้งนั้นหญิงเข็ญใจพวกหนึ่ง ทูลมัดฟืนมา แต่หญิง ๖ คนนั้นปลงมัดฟืนลงจากศีรษะแล้ว ก็พากันไปเที่ยวนั่งตามร่มไม้ แต่หญิงเข็ญใจมีครรภ์คนหนึ่งนั้น ปลงมัดฟืนแล้วเอาผ้าลาดบนมัดฟืนรองนั่ง พวกอำมาตย์เห็นดังนั้นแล้ว จึ่งจับหญิงนั้นไปถวายพระมหากษัตริย์ ๆ จึ่งตรัสให้เพ็ชฌฆาตเอาไปฆ่าเสียที่ดอนแห่งหนึ่งใกล้วัดพระมหาสังฆราช บัดนี้เรียกว่าดอนพระศรี ส่วนกุมาร อยู่ในครรภ์นั้นก็ประสูติออกมา มีแร้งมากางปีกปิดป้องรักษากุมารนั้นไว้จะไม่ให้ถูกแดดและลม ส่วนตาเคเหซึ่งเป็นผู้เลี้ยงโคของพระมหาสังฆราชนั้น ไล่ฝูงโคไปเลี้ยงที่ใกล้ศพมารดากุมารนั้น เห็นฝูงแร้งพากันกางปีกป้องปิดอยู่ ก็มีความสงสัย จึ่งเข้าไปดู เห็นกุมารมีรูปอันงาม ก็อุ้มเอามาถวายแก่พระสังฆราช ๆ ก็รู้ว่า กุมารคนนี้จะมีบุญมาก แต่พระมหากษัตริย์ให้เอามาฆ่าแล้วยังไม่ตาย จึ่งมอบให้ตาเคเหเอาไปเลี้ยงไว้ จนอายุกุมารนั้นได้ ๖ ขวบ ๗ ขวบ ครั้นอยู่มาพระมหากษัตริย์ ก็ทรงพระประชวรอีก จึ่งให้โหรทำนาย ๆ ว่าผู้มีบุญนั้นยังไม่ตาย มี ผู้เอาไปเลี้ยงไว้ อยู่ข้างทิศตะวันออกแห่งเมืองพนมเพ็ญ พระมหากษัตริย์จึ่งให้อำมาตย์ไปจับตัว ส่วนพระมหาสังฆราชกับตาเคเหรู้ความนั้นแล้ว พระมหาสังฆราชจึ่งให้ตาเคเหพากุมารนั้นหนีไป ฝ่ายอำมาตย์ก็ติดตามไป ตาเคเหจวนตัวจึ่งพากุมารเข้าซ่อนอยู่ในบึงแห่งหนึ่ง เดี๋ยวนี้เรียกว่า โคกบันชัน เมื่อจะเข้าไปนั้น ตาเคเหทำเป็นทีเดินถอยหลังเข้าไป หวังจะให้คนทั้งปวงเห็นว่าหนีจากโคกนั้นแล้ว ฝ่ายอำมาตย์ก็ติดตามไปถึงโคกนั้นแล้วก็ไม่เห็น จึ่งขับช้างเข้าบุกตามหญ้า รกนั้น แต่ที่กุมารอยู่นั้นมีช้างพังช้างหนึ่ง ไปยืนค่อมพระกุมารอยู่ ทำอาการเหยียบย่ำดุจช้างทั้งปวง ไม่ให้คนทั้งปวงสงสัย อำมาตย์ ราชเสนาเที่ยวหาไม่เห็นแล้ว ก็พาไพร่พลกลับมาทูลพระมหากษัตริย์ ฝ่ายตาเคเหครั้นเห็นคนทั้งปวงกลับไปแล้ว จึ่งพาพระกุมารออกจากบึง ไปพักอยู่ในป่าแห่งหนึ่ง ชื่อไพรทับ ฝ่ายพระมหากษัตริย์ให้โหรทำนาย ๆ ว่า บัดนี้ผู้มีบุญหนีไปอยู่ในป่าแห่งหนึ่งข้างทิศใต้ พระมหากษัตริย์สั่งให้เสนาอำมาตย์ยกทัพไปติดตาม ตาเคเหเห็นจึ่งพาพระกุมารหนีไปพักอยู่ที่ป่าไพรปวน ออกจากป่าไพรปวนไปพักอยู่ที่เขาประสิทธิ์ข้างทิศหรดีเมื่อจะเข้าไปในถ้ำนั้น ตาเคเหอุ้มพระกุมารเดินถอยหลังเข้าไปในถ้ำนั้น แล้วแมลงมุมก็ชักใยปิดปากถ้ำเสียหวังจะไม่ให้คนสงสัยว่า ตาคาเหพากุมารเข้าไปในถ้ำนั้น ฝ่ายอำมาตย์ก็พาไพร่พลกลับมาทูลพระมหากษัตริย์ ๆ ก็นิ่งอยู่ ตาเคเหก็พาพระกุมารข้ามแม่น้ำพนมเพ็ญ ไปที่ ดอนแห่งหนึ่งข้างทิศตะวันออก พระกุมารจึ่งหักเอากิ่งไทรปักไว้แล้ว จึ่งอธิษฐานว่า ถ้าข้าพเจ้าจะมีบุญต่อไปภายหน้า ก็ขอให้กิ่งไทรนี้เป็นขึ้น จำเริญโตใหญ่ไปในเบื้องหน้า ต้นไทรนั้นยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้
ครั้น อนิษฐานแล้วพระกุมารก็บรรทมหลับอยู่บนตักตาเคเหหน่อยหนึ่ง ตา เคเหเห็นนกกระทุงกินปลาอยู่ในหนองเป็นอันมาก ตาเคเหสำคัญว่า กอง ทัพยกมาตามจับ ตาเคเหจึ่งปลุกพระกุมารขึ้นบอกว่า กองทัพยกตามมา ก็พากันหนีไปถึงต้นมะม่วงต้นหนึ่ง ตาเคเหจึ่งขึ้นไปบนต้นมะม่วงสวายสอแลดูไม่เป็นกองทัพ เห็นแต่ฝูงนกกะทุงลงกินปลาอยู่ในหนอง ก็ดีใจ จึ่งเก็บผลมะม่วงมาให้แก่พระกุมาร จึ่งบอกพระกุมารว่าไม่ใช่กองทัพ พระกุมารก็คิดแต่ในใจว่า ตาเคเหลวงเราให้ตกใจ ถ้าเรามีบุญได้เป็นกษัตริย์จะต้องว่ากล่าวสั่งสอนเสียบ้าง แล้วพระกุมารก็กินมะม่วงตาเคเห ได้รับพระราชทานมีโอชารศยิ่งนัก ตาเคเหก็เก็บเมล็ดมะม่วงสวายสอนั้นมาด้วย ก็พากันมาถึงที่บ้านตำบลหนึ่ง กุมารอดอาหารหิวโหยนัก ได้เห็นหญิงขาวผู้หนึ่งไปยืนอยู่ที่หน้าบ้าน กุมารจึ่งว่า ตาไปขอข้าวหญิงขาวที่ยืนอยู่นั้นมากินสักหน่อยเทอญ ตาเคเหก็ไปขอข้าวแก่หญิงที่ยืนอยู่นั้น ๆ จึ่งถามว่าตามาแต่ข้างไหน ตาเคเหจึ่งบอกความตามเหตุที่ตนมากับพระกุมาร หญิงขาวก็ให้ไปรับพระกุมารเข้า มาแต่งโภชนาหารให้กินแล้ว ให้พระกุมารกับตาเคเหอยู่ในบ้านได้ประมาณ ๗ วัน ฝ่ายพระมหากษัตริย์ทรงพระประชวรหนักถึงแก่พิราลัย เสนา พฤกฒามาตราชปโรหิตก็ประชุมพร้อมกัน ให้หาโหรทำนายดูก็รู้ว่าผู้ มีบุญนั้นยังอยู่ จึ่งปรึกษากันเสี่ยงราชรถไป ราชรถก็ตรงไปถึงฝั่ง แม่น้ำก็หยุดอยู่ ฝ่ายอำมาตราชปโรหิตซึ่งตามราชรถไปนั้น ก็ชวนกัน เอาราชรถนั้นข้ามแม่น้ำไปถึงฝั่งฟากข้างโน้น ราชรถตรงไปถึงที่ใกล้พระกุมาร เสนาอำมาตยราชปโรหิตเห็นพระราชกุมารต้องด้วยลักษณะควรจะเป็นพระมหากษัตริย์ครอบครองราชสมบัติ บำรุงอาณาประชาราษฎรให้อยู่เย็นเป็นศุขได้ ก็ให้ประโคมดุริยางคดนตรีขึ้นพร้อมกัน เชิญเสด็จพระกุมารขึ้นทรงราชรถแห่แหนไปสู่ยังพระนครจัตุรมุขพนมเพ็ญเป็นสมมติกษัตริย์ทรงพระนาม พระเจ้าปักษีจำกรง เพราะเหตุเมื่อนายเพ็ชฌฆาตฆ่าพระมารดา มีนกแร้งมากางปีกปกปิดเฝ้ารักษา พระองค์ไว้นั้น พระเจ้าปักษีจำกรงจึ่งทรงตั้งตาเคเหนั้นเป็นที่เจ้าฟ้า ทลหะเอกอุมนตรี และบ้านที่พระองค์ไปอาศัยหญิงขาวยืนอยู่นั้นให้ตั้งขึ้นไปเมือง เรียกว่าเมืองสีสอเมอ แล้วพระราชทานส่วยสาอากร ในเมืองสีสอเมอ ให้ขึ้นแก่หญิงขาวที่ให้ข้าวแก่พระองค์เสวยนั้น ที่ที่นายเพ็ชฌฆาตฆ่าพระมารดานั้นให้สร้างวัดขึ้นชื่อว่า วัดดอนพระศรี ที่พระองค์ปักต้นไทรไว้นั้น ให้สร้างพระวิหารไว้ให้ชื่อว่า วัดวิหารสวรรค์เมื่อตาเคเหได้เป็นเจ้าฟ้าทละหะนั้น ได้เมล็ดมะม่วงมาแต่ครั้งพาพระกุมารหนีมานั้น เอามาปลูกไว้ในบ้านจนโตใหญ่ได้ ๗ ปีจนมีผล จึ่งเก็บมาถวายพระเจ้าปักษีจำกรง ๆ เสวยมีโอชารส จึ่งตรัสถามเจ้าฟ้าทลหะ ว่าได้ผลมะม่วงมาแต่ไหน เจ้าฟ้าทลหะจึ่งทูลว่า ได้มาแต่ครั้งหนีนก กระทุงนั้น พระเจ้าปักษีจำกรงจึงตรัสว่า เมื่อขณะนั้นข้ามีความโกรธนักด้วยตาลวงข้าให้ตกใจ โทษตาก็มีอยู่ ให้ตาพิเคราะห์ดูโทษจะมีประการใด เจ้าฟ้าทละหะจึ่งทูลว่า โทษข้าพเจ้าก็ถึงที่ตาย ขอพระองค์จงฆ่าข้าพเจ้าเสียอย่าเอาไว้จะเป็นตัวอย่างต่อไป พระเจ้าปักษีจำกรงจึ่งตอบว่าโทษผิดแต่เพียงนี้ ถึงจะผิดด้วยพระราชกำหนดกฎหมาย เราก็ไม่ฆ่าท่านได้ เจ้าฟ้าทละหะก็ทูลวิงวอนไปจะให้ฆ่าตนให้ได้หลายครั้งว่ากระหม่อมฉันมีความชอบ พระองค์ก็ได้ทรงชุบเลี้ยงยกย่องตั้งแต่งขึ้นให้เป็นขุนนางผู้ใหญ่แล้ว โทษถึงตายก็ให้ฆ่าเสียเทอญ พระเจ้าปักษีจำกรงจึ่งตรัสว่า ถ้าดังนั้นเราจะทำตามถ้อยคำท่าน แล้วก็ตรัสสั่ง เจ้าพนักงานจัดเอาเสื่อไปปูลาดลง แล้วให้เจ้าฟ้าทลหะนอนลงแล้วเอาผ้าคลุมไว้หลายชั้น หวังพระหฤทัยจะให้เป็นเคล็ดไม่ให้ถึงคอเจ้าฟ้าทละหะ ครั้นให้เอาผ้าคลุมแล้ว ก็ทรงเงื้อพระขรรค์ขึ้นแล้วก็ค่อยวางลงตรงคอ เจ้าฟ้าทละหะแต่เบาๆ ขณะเมื่อวางพระขรรค์ลงไปนั้นผ้าก็มิได้ขาด ครั้นเลิกผ้าขึ้นแล้วคอเจ้าฟ้าทละหะนั้นก็ขาดไปถึงแก่ความตาย ควรจะเป็นอัศจรรย์หนักหนา พระเจ้าปักษีทรงมีความอาลัยนัก จึ่งสั่งให้แต่ง การศพเจ้าฟ้าทละหะตามตำแหน่งขุนนางผู้ใหญ่ ปลงศพเสร็จแล้ว จึ่ง ตรัสสั่งให้เอาอัฏฐิไปฝังไว้ที่บ้านมุบกำพูล พระมหากษัตริย์ทรงพระ อาลัยในเจ้าฟ้าทลหะนัก จึ่งทรงเลี้ยงบุตรภรรยาเจ้าฟ้าทละหะนั้นเป็นขุนนางสืบไป พระเจ้าปักษีจำกรงเสวยราชสมบัตินานจนถึงพิราลัย

พระราชบุตรทรงราชย์สืบวงศ์ต่อมาหลายพระองค์ จนถึงกษัตริย์องค์หนึ่งเป็นเชื้อวงศ์ของพระเจ้าปักษีจำกรง ได้เสวยราชสมบัติ พระนามนั้นไม่ปรากฏแต่กษัตริย์องค์นั้นประพฤติการทุจจริตไม่ตั้งอยู่ในความยุตติธรรม พาอำมาตย์ไปเที่ยวลักทรัพย์ของราษฏรอยู่เป็นนิจ ยังมีพระฤษีองค์หนึ่งรักษาศีลอยู่ในป่าใกล้พระนครธม แต่ฤษีองค์นั้นถ่ายปัสสาวะลงในกระพังศิลาอยู่เนืองนิจ บุรุษชาวป่าคนหนึ่งเป็นชาติกวยพรรณ เวลาวันหนึ่งพาภรรยากับบุตรหญิงไปเที่ยวขุดเผือกมันในป่าหลงทางไป จะกลับ มาบ้านมิได้ บิดามารดาจึ่งเที่ยวหาน้ำให้บุตรหญิงนั้นกิน จึ่งไปพบ น้ำในกระพังศิลา เป็นน้ำของพระฤษีถ่ายลงไว้แล้วก็กลับไปพา บุตรหญิงให้กินน้ำในกระพังศิลา แล้วพบหนทางพากลับบ้าน บุตรหญิงนั้นก็มีครรภ์ขึ้น บิดามารดามีความสงสัยจึ่งถามบุตรหญิงว่ารักใคร่กับผู้ใดจึ่งมีครรภ์ บุตรหญิงนั้นก็ปฎิเสธว่า ไม่ได้รักใคร่กับผู้ใด ด้วยมิได้เที่ยวไปจากเรือนเลย แต่เมื่อไปเที่ยวป่านั้นได้กินน้ำในกระพังศิลา แต่กลิ่นนั้นเหมือนกลิ่นปัสสาวะ บิดามารดาจึ่งมีความสงสัยว่าเกลือกจะเป็นน้ำปัสสาวะของบุรุษผู้ใดมาถ่ายไว้ บุตรของเราได้กินจึ่ง มีครรภ์ บิดามารดาก็มีความสงสารแก่บุตรหญิง จึ่งปฏิบัติรักษาครรภ์ไว้จนถ้วนทศมาศ ก็คลอดบุตรเป็นชายประกอบด้วยลักษณะอันงาม บิดามารดาก็ช่วยกันเลี้ยงรักษาจนเจริญใหญ่ขึ้นได้ ๗ ปี ก็ไปเที่ยวเล่นกับทารกเพื่อนบ้าน ทารกชาวบ้านจึ่งว่าแก่กุมารนั้นว่าลูกไม่มีบิดา กุมารนั้นมีความน้อยใจนัก จึ่งถามมารดาว่า เขาพากันติเตียนว่าข้านี้ไม่มีบิดา ๆ ข้าอยู่ที่ไหน มารดาจงบอกให้ข้าแจ้งบ้าง มารดาได้ฟังบุตรว่า

ดังนั้นจึ่งเล่าความให้บุตรฟังตั้งแต่ครั้งไปเที่ยวป่า ไปกินน้ำในกระพังศิลา จนมีครรภ์ขึ้นมานั้นทุกประการ กุมารได้ฟังดังนั้นจึ่งว่า ถ้าจะอยู่ไปก็จะมีความอายแก่คนทั้งปวง ข้าจะลามารดาไปเที่ยวหาบิดาให้พบแล้วจึ่งจะกลับมา มารดากับตายายห้ามสักเท่าใดกุมารนั้นก็ไม่ฟัง จึ่งลามารดากับตายายเข้าไปในป่าพบพระฤษี ๆ จึ่งถามว่า กุมารนี้จะไป ข้างไหน กุมารจึ่งบอกว่า ข้าพเจ้าเที่ยวมาตามหาบิดาของข้าพเจ้า ฤษีจึ่งถามว่า บิดาของท่านนั้นชื่อไร รูปพรรณสัณฐานเป็นประการใด เจ้าจึ่งมาตามหาในป่าดังนี้ กุมารจึ่งบอกว่า มารดาข้าพเจ้าบอกว่าออกมาเที่ยวป่าได้กินน้ำในกระพังศิลาจึ่งมีครรภ์ ข้าพเจ้าไม่รู้จักรูปพรรณและนามบิดาข้าพเจ้า จึ่งมาตามหา ฤษีจึ่งว่าแก่กุมารว่า เจ้าจงอยู่ที่นี่เทอญ เจ้านี้คือบุตรของเราแล้ว เราจะได้สั่งสอนให้เจ้าเรียนศิลปศาสตรสำหรับรักษากายไปภายหน้า กุมารนั้นได้ทราบความว่าพระฤษี องค์นั้นเป็นบิดาของตนดังนั้น ก็มีความยินดีนัก กุมารนั้นจึ่งอยู่กับพระฤษีผู้เป็นบิดา ๆ ก็สั่งสอนให้กุมารเรียนศิลปศาสตร กุมารก็อุตสาหะเรียนศิลปศาสตรอยู่ในสำนักพระฤษีได้ ๗ ปี พระฤษีจึ่งเอาเหล็กดีก้อนหนึ่งมาประสิทธิ์เป็นเหล็กกายสิทธิ์ ให้แก่กุมารผู้บุตรรักษาไว้สำหรับป้องกันตัว มิให้มีไพรีทั้งปวงมากระทำร้ายได้ และเหล็กกายสิทธิ์ ก้อนนั้นอาจแก้ซึ่งพิษยาเบื่อเมาให้กลายเป็นดี มีโอชารสหวานดีบริโภคได้แล้วพระฤษีจึงให้กุมารเอาเหล็กกายสิทธ์นั้น กลับมายังสำนักมารดาตายาย ๆ จึ่งให้กุมารนั้นกลับไปหาฤษี ๆ ว่าเราจะไปอยู่ป่าหิมพานต์ แล้ว กุมารก็กราบนมัสการลาพระฤษีกลีบมายังสำนักมารดาตายายแห่งตน
เล่าความให้มารดาตายายฟังทุกประการ มารดาตายายก็มีความยินดีเป็นอันมาก ครั้นอยู่นานมามารดาตายายถึงแก่กรรมแล้ว กุมาร ก็เที่ยวไปอยู่ในป่าแห่งหนึ่งใกล้พระนครธม บุรุษผู้นั้นทำไร่ข้าวโภช ข้าวฟ่างเลี้ยงชีวิต เวลาวันหนึ่งบุรุษนั้นเอาเหล็กกายสิทธิ์หนุนศีรษะ นอนอยู่ แล้วบุรุษนั้นลุกจากที่นอกออกไปดูแลผลไม้ในไร่ของตนซึ่ง ปลูกไว้ ภายหลังมีกาตัวหนึ่งบินไปกินแตงที่อื่นแล้วบินเข้าไปในที่นอนขึ้นจับอยู่บนก้อนเหล็กกายสิทธิ์ แล้วถ่ายอุจจาระเป็นเมล็ดแตงติดอยู่กับก้อนเหล็กกายสิทธิ์นั้นแล้วก็บินไป ฝ่ายบุรุษนั้นกลับมาเห็นเมล็ดแตงติดอยู่กับก้อนเหล็ก ก็เอาไปปลูกไว้ แตงนั้นก็งอกขึ้นจนมีผล บุรุษนั้น เก็บเอามากินมีโอชารสยิ่งนัก เพราะเหตุนั้นจึ่งได้นามชื่อว่า บุรุษ แตงหวาน ฝ่ายพระมหากษัตริย์พาบริวารไปเที่ยวประพาสเล่นในป่า ไปพบบุรุษแตงหวาน ก็พาบริวารเข้าไปเก็บผลแตงของบุรุษนั้น เสวยมี โอชารสหวานนัก จึ่งตรัสสั่งว่า บุรุษแตงหวานนี้จงอุตสาหะรักษาผลแตงหวานไว้ให้เรา อย่าได้ซื้อขายให้ผู้ใด ถ้าและซื้อขายให้ผู้ใดแล้ว เราจะได้ลงโทษท่านถึงสาหัส แล้วพระมหากษัตริย์องค์นั้นก็พาบริวารกลับไปพระนคร ภายหลังมีบุรุษลี้ยงโคคนหนึ่ง ไปเลี้ยงโคริมไร่ บุรุษแตงหวาน โคนั้นเข้าไปในไร่บุรุษแต่งหวาน ๆ ก็ขับไล่โค โคไม่หนีไป บุรุษแตงหวานมีความโกรธ จึ่งเอาก้อนเหล็กขว้างไปถูกท้องโคทะลุ โคนั้นก็ตาย บุรุษเลี้ยงโคจึ่งต่อว่าแก่บุรุษแตงหวานว่า เหตุใดท่านจึ่ง ฆ่าโคของข้าพเจ้าเสีย บุรุษเลี้ยงโคก็เอาความนั้นมาร้องแก่ตระลาการ ๆจึ่งให้นายนักการมาจะเอาบุรุษแตงหวานนั้นไป บุรุษแตงหวานก็ว่า ไร่แตงนี้พระมหากษัตริย์สั่งไว้ให้ข้าพเจ้าเฝ้าอยู่มิให้เป็นอันตรายได้ เมื่อจะมาเอาตัวข้าพเจ้าไปแล้ว ก็ให้กราบทูลเสียก่อนข้าพเจ้าจึ่งจะไป เสนามนตรีจึงกลับไปกราบทูลต่อพระมหากษัตริย์ ๆ จึ่งตรัสสั่งขุนนางออกไปเอาตัวบุรุษแตงหวาน ๆ เมื่อมานั้น ก็เอาเหล็กก้อนนั้นไปด้วย ครั้นเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ ๆ จึ่งตรัสถามว่า เหตุไรจึ่งฆ่าโคของเขาเสีย บุรุษ แตงหวานจึ่งกราบทูลว่า บุรุษผู้เป็นเจ้าของโคปล่อยโคให้เข้าไปในไร่ทั้งฝูงไปเหยียบแตงซึ่งโปรดให้พิทักษ์รักษาไว้ถวาย กระหม่อมฉันกลัวความ ผิดเหลือสติกำลัง ไล่ไม่ฟังจึ่งเอาก้อนเหล็กทิ้งไปถูกโคตัวหนึ่งตาย แล้วแต่จะโปรด พระมหากษัตริย์จึ่งเรียกเอาก้อนเหล็กของบุรุษแตงหวานนั้นไป สั่งให้ช่างเหล็กตีเป็นหอกมอบให้แก่บุรุษแตงหวาน เอากลับคืนไปยังไร่ สำหรับจะได้เป็นเครื่องสาตราวุธป้องกันโจรผู้ร้ายลักแตง แล้วบุรุษแตงหวานกราบถวายบังคมลากลับมาพิทักษ์รักษาแตงอยู่ที่ไร่ในเพลาวันหนึ่งพระมหากษัตริย์นึกคะนองพระหฤทัย จะใคร่ไปลักแตงของบุรุษนั้นลองดู จึ่งพาอำมาตย์ผู้ร่วมพระหฤทัยไปในเพลาราตรี ไปถึงไร่แตงบุรุษแตงหวานเข้า พระมหาษัตริย์ลอดรั้วไร่ของบุรุษ แตงหวานเข้าไปลักแตงของบุรุษแตงหวาน ๆ ตื่นขึ้นสำคัญว่าโจรลอดรั้ว เขเไปลักของ จึ่งจับได้หอกนั้นพุ่งเข้าไปถูกพระมหากษัตริย์ถึงแก่พิราลัย แล้วชักเอาหอกมาเก็บไว้ไม่ทราบว่าพระมหากษัตริย์ ฝ่ายอำมาตย์คนสนิทซึ่งติดตามเสด็จมา รู้ว่าพระมหากษัตริย์ถึงแก่พิราลัยแล้วก็หนีกลับไปถึงพระนครไม่บอกเล่าแก่ผู้ใด
ครั้นรุ่งขึ้นเพลาเช้า เสนาบดีมนตรี ผู้ใหญ่ผู้น้อยพากันขึ้นเฝ้าก็ไม่เห็นพระมหากษัตริย์เสด็จออก ขุนนางทั้งปวงจึ่งได้ไต่ถามนักสนมชาวใน ๆ ต่างคนต่างว่าไม่รู้ไม่เห็นทั้งสิ้น เสนามนตรีทั้งปวงจึ่งพากันไปเที่ยวหาพระมหากษัตริย์ ถึงไร่บุรุษแตงหวาน จึ่งเห็นพระมหากษัตริย์สิ้นพระชนม์อยู่ในรั้วไร่บุรุษแตงหวานนั้น เสนามน ตรีทั้งปวงจึ่งไปซักถามบุรุษแตงหวาน ๆ ว่าไม่รู้ว่าพระมหากษัตริย์ สำคัญ ว่าโจรจึ่งแทง เสนามนตรีทั้งปวงจึ่งปรึกษากันว่า บุรุษแตงหวานไม่มีโทษ จึ่งอัญเชิญพระศพพระมหากษัตริย์ไปสู่พระนคร
ครั้นปลงพระศพเสร็จแล้วจึ่งประชุมเสนาอำมาตย์ราชปโรหิตโหราพฤฒาจารย์ว่า พระมหา กษัตริย์พระองค์นี้ไม่พระราชวงศานุวงศ์ที่จะครองราชสมบัติสืบกษัตริย์ ต่อไปแล้ว พวกเราจงจัดแจงเสี่ยงราชรถไป ถ้าผู้ใดมีบุญญาธิการควร จะครองราชสมบัติ เป็นสมมุติกษัตริย์ปกป้องให้อาณาประชาราษฎร อยู่เย็นเป็นสุขได้ ให้ราชรถตรงไปเกยอยู่ที่ใกล้ผู้นั้นเทอญ ครั้นปรึกษาพร้อมกันแล้วก็ให้ปล่อยราชรถไป ราชรถก็ตรงไปที่บุรุษแตงหวาน อยู่นั้น ฝ่ายเสนาพฤฒามาตย์ราชปโรหิต เห็นบุรุษแตงหวานต้องด้วยลักษณะควรที่จะครองราชสมบัติ เป็นสมมุติกษัตริย์บำรุงราษฏรให้ อยู่เย็นเป็นสุขได้ จึ่งให้ประโคมดุริยางค์ขึ้นพร้อมกัน อัญเชิญบุรุษ แตงหวานขึ้นทรงราชรถกลับเข้าสู่พระนคร ราชาภิเษกเป็นเอกอัครมหากษัตริย์ทรงพระนามพระเจ้าสุริโยพันธุ์ ครอบครองอินทปัตถมหานครและหอกกายสิทธิ์ซึ่งเป็นของพระเจ้าแตงหวานแต่เดิมนั้น ก็ยังปรากฏ

…………………………………………

วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2557

พงษาวดารเมืองหลวงพระบาง ศาลาลูกขุน

พงษาวดารเมืองหลวงพระบาง ตามฉบับศาลาลูกขุน

แต่ครั้งศักราช ๒๓๖ พระวัสสา มีพระอรหันต์องค์หนึ่งชื่อว่าพระจุลนาคเถรอยู่ในเมืองลังกาทวีป ประกอบด้วยพระไตรปิฏกคิดจะให้พระสาสนารุ่งเรืองไปตราบเท่าถ้วนถึง ๕๐๐๐ พระวัสสา พระองค์จึงพิเคราะห์ด้วยเหตุจะสร้างรูปพระปฏิมากร จึงให้คนไปป่าวร้องชาวเมืองลังกาทวีปให้มาพร้อมกันแล้ว ให้ช่างปั้นรูปพระพุทธเจ้ายกพระหัดถ์ทั้งสองขึ้นห้าม เมื่อพระยากบิลพัสดุ์ พระยาโกลีย ยกไพร่พลมารบกันริมน้ำโรหินี (ปางห้ามญาติ)ครั้นปั้นเสร็จแล้ว คนทั้งหลายก็เอาเงินแลทองคำ, แลทองแดง, ทองเหลืองมาให้พระจุลนาคเถรหล่อรูปพระปฏิมากร แล้วชาวเมืองลังกาก็พากันทำสักการบูชาต่าง ๆพระจุลนาคเถร พระยาลังกาพร้อมกันยกเอารูปพระปฏิมากรขึ้นตั้งไว้ในปราสาทขนานนามตั้งว่าพระบาง แล้วพระจุลนาคเถรจึงเชิญพระบรมธาตุ ๕ พระองค์ ใส่ผอบแก้วขึ้นตั้งไว้บนอาศนทองตรงพระภักตร์พระบาง อธิฐานว่าพระบางองค์นี้จะได้เปนที่ไหว้ ที่บูชาแก่เทพยดามนุษย์ทั้งหลายถาวรสืบไปถึง ๕๐๐๐ พระวัสสา ก็ขอให้พระบรมธาตุ ๕ พระองค์เสด็จเข้าสถิตย์อยู่ในรูปพระบางนั้น แล้ว พระบรมธาตุเสด็จเข้าอยู่ที่พระนลาตองค์ ๑ อยู่ที่พระหณุองค์๑ อยู่ที่พระอุระองค์๑ อยู่พระหัตถ์เบื้องขวาองค์๑ อยู่พระหัดถ์เบื้องซ้ายองค์ ๑ แล้วพระบางก็ทำปาฏิหารมหัศจรรย์ต่างๆ ได้มีการสมโภช๗ วัน ๗ คืน
ครั้นพระสาสนาล่วงมาถึง ๔๑๘ พระวัสสา พระยาสิบินราชได้เปนพระเจ้าแผ่นดินเมืองลังกาทวีป พระยาศรีจุลราชได้เปนเจ้าแผ่นดินเมืองอินทปัตนคร มีความเสนหารักใคร่แก่กัน พระยาศรีจุลราช จึงแต่งราชทูตถือพระราชสาสนลงสำเภาไปยังเมืองลังกาทวีป ขอเชิญพระบางมาทำสักการบูชา พระยาสุบินราชจึงเชิญพระบางมอบ ให้ราชทูตไปยังเมืองอินทปัตนคร แล้วเจ้าเมืองอินทปัตนครแห่พระบางขึ้นไว้ในพระวิหารกลางเมือง มีการสมโภช ๗ วัน ๗ คืนพระบางนั้นสูงแต่ฝ่าพระบาทถึงยอดพระเมาฬีสองศอกเจ็ดนิ้ว ทองหนัก ๔๒ ชั่ง ๑ ตำลึง
เดิมเมืองหลวงพระบางเรียกว่าเมืองศรีสัตนคนหุตล้านช้างร่มขาว เปนเมืองขึ้นกรุงปักกิ่ง มีเจ้าเมืองครอบครองบ้านเมืองต่อ ๆ กันมาครบ ๕ ปีต้องจัดเครื่องราชบรรณาการไปถวายครั้งหนึ่ง
ครั้นศักราช ๖๗๘ ปีเถาะอัฐศก พระยาสุวรรณคำผงได้เปนเจ้าเมืองศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว มีบุตรชายคนหนึ่งชื่อ ขุนยักษ์ฟ้า ๆ ทำชู้ด้วยภรรยาพระยาสุวรรณคำผง ๆ ขับไล่ขุนยักษ์ฟ้าไปเสียจากบ้านเมือง ขุนยักษ์ฟ้าพาภรรยากับบุตรคนหนึ่งชื่อ ท้าวฟ้างุ้ม ไปอยู่เมืองอินทปัตนคร ท้าวฟ้างุ้มได้นางคำยักษ์บุตรพระยาศรีจุลราชเจ้าเมืองอินทปัตนครเปนภรรยา อยู่มาเจ้าเมืองอินทปัตนครเกณฑ์กองทัพให้ท้าวฟ้างุ้ม ยกขึ้นไปถึงเมืองศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว  ครั้งนั้นท้าวคำย่อบุตรเจ้าเมืองพวนทำชู้ด้วยภรรยาของบิดา กลัวบิดาจะฆ่าเสีย หนีลงมาพึ่งท้าวฟ้างุ้มขอกองทัพยกขึ้นไปตีเมืองพวนได้แล้วจะยอมเปนเมืองขึ้น ท้าวฟ้างุ้มจึงยกกองทัพขึ้นไปตีเมืองพวน ยิงปืนใหญ่น้อยสู้รบโต้ตอบกันเปนสามารถ พวกเมืองพวนทนฝีมือไม่ได้ก็แตกกระจัดกระจายไป กองทัพท้าวฟ้างุ้มเข้าหักเอาเมืองได้ จึ่งตั้งท้าวคำย่อเปนเจ้าเมืองพวน เรียกว่าพระยาคำย่อ
ท้าวฟ้างุ้มกับพระยาคำย่อ ยกกองทัพกลับลงมาเมืองศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว จึงแต่งคนถือหนังสือไปถึงพระยาสุวรรณคำผงผู้เปนปู่ว่า จะขอเอาราชสมบัติในเมืองศรีสัตนาคนหุต พระยาสุวรรณคำผงจึงเกณฑ์กองทัพออกรบต้านทานสู้กองทัพท้าวฟ้างุ้มไม่ได้ พระยาสุวรรณคำผงผูกฅอตายเสีย ท้าวฟ้างุ้มได้ครองเมืองศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว เรียกว่า
พระยาฟ้างุ้ม หัวเมืองใดตั้งขัดแข็งก็ยกกองทัพไปตีได้มาเปนเมืองขึ้นหลายเมือง แต่เมืองไผ่หนามปลูกก่อไผ่เปนระเนียด จะยิงปืนเท่าใดก็ไม่อาจทำลายได้ พระยาฟ้างุ้มจึงให้ทำกระสุนปืนด้วยทองคำยิงเข้าไปในเมือง แล้วผิตี่เลิกทัพกลับไป ราษฎรในเมืองไผ่หนามก็พากันถางกอไผ่เอากระสุนปืนทองคำ แล้วพระยาฟ้างุ้มกลับยกกองทัพมาตีก็หาแพ้ชะนะกันไม่ เจ้าเมืองไผ่หนามกับพระยาฟ้างุ้มยอมเปนทางไมตรีแก่กัน จึ่งเปลี่ยนชื่อพระยาเภาเจ้าเมืองไผ่หนามเปนพระยาเวียงคำ ตามเหตุที่ได้เอากระสุนปืนทองคำ ยิง อยู่มาเจ้าเมืองอินทปัตนครให้หาพระยาฟ้างุ้มบุตรเขย ลงไปเมืองอินทปัตนคร ให้โอวาทสั่งสอนไม่ให้ยกกองทัพไปเที่ยวตีนานาประเทศ ให้ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมรับศีลห้าในพระวิหารพระบาง แล้วยกเขตรแขวงเมืองอินทปัตนคร ตั้งแต่ลี่ผีขึ้นไปให้ขึ้นเมืองศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว แล้วพระยาฟ้างุ้มขอเชิญพระบางขึ้นไปเมืองศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาวด้วย ครั้นขึ้นไปถึงเมืองเวียงคำ พระยาเวียงคำขอเชิญพระบางไว้ทำสักการบูชา พระยาฟ้างุ้มจึงพา ไพร่พลขึ้นในเมืองศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว พระยาฟ้างุ้มมีบุตรชายคนหนึ่งชื่อท้าวอุ่นเรือน อยู่มาพระยาฟ้างุ้มไม่ตั้งอยู่ในสัตย์ธรรม ข่มเหงเอาภรรยาท้าวพระยามาเปนภรรยาของตัว ท้าวพระยาจึงพร้อมกันขับไล่ พระยาฟ้างุ้มหนีไปพึ่งพระยาคำตันเมืองน่าน พระยาฟ้างุ้มครองเมืองได้ ๔๑ ปี รวมอายุได้ ๗๐ ปีถึงแก่กรรมที่เมืองน่าน

ศักราช ๗๓๕ ปีชวดเบญจศก ท้าวพระยาพร้อมกันยกท้าวอุ่นเรือนบุตรพระยาฟ้างุ้มขึ้นครองเมืองศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว เรียกว่าพระยาสามแสนไทยไตรภูวนารถธิบดีศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว ท้าวอุ่นเรือนมีบุตรชาย ท้าวล้านคำแดง ๑ ท้าวคำปาก ๑ ท้าวฦาไชย ๑ ท้าวไชยสาร ๑ ท้าวฟ้ากริ่ม ๑ ท้าวหมื่นไชย ๑ ท้าวราชแสนไท ๑ เจ็ดคน ครั้งนั้นบ้านเมืองไม่มีทัพศึก พระยาสามแสนไทครองเมืองได้ ๔๓ ปี รวมอายุ ๖๐ ปีถึงแก่กรรม
ศักราช ๗๗๘ ปีมแมอัฐศก ท้าวล้านคำแดงบุตรพระยาสามแสนไทที่ ๑ ได้ครองเมืองศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว ครั้งนั้นบ้านเมืองก็ไม่มีเหตุการสิ่งใด ท้าวล้านคำแดงมีบุตรชายท้าวยุขอน ๑ ท้าวพรหมทัต ๑ ท้าวล้านคำแดงครองเมืองได้ ๑๑ ปี รวมอายุได้ ๕๐ปี ถึงแก่กรรม

ศักราช ๗๘๙ ปีมะเมียนพศก ท้าวพระยาพร้อมกันตั้งท้าวฦาไชยบุตรพระยาสามแสนไทที่ ๓ เปนพระไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้วเจ้าเมืองศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาวต่อมา ท้าวฦาไชยมีบุตรชาย ท้าวแท่งคำ ๑ ท้าวภูเพ ๑ สองคน แล้วพระไชย จักพรรดิแผ่นแผ้วให้ท้าวพระยาลงไปเชิญพระบาง ณ เมืองเวียงคำ ใส่เรือขึ้นมาถึงแก่งจันใต้เมืองเชียงคานเรือล่มพระบางจมน้ำหายไป อยู่มาพระบางก็กลับไปประดิษฐานอยู่ในพระวิหารเมืองเวียงคำดังเก่า
แล้วญวนชื่อองบัวขว้างซุนเนิก ยกกองทัพมาตีเมืองศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว พระไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้วจัดกองทัพออกรบรับไม่ชนะ ต้องพาครอบครัวหนีลงมาเมืองเชียงคาน แล้วแต่งท้าวแท่งคำบุตรคุมกองทัพไปตีทัพองบัวขว้างซุนเนิกทนฝีมือไม่ได้แตกกระจัดกระจายไป พระไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้วครองเมืองได้ ๔๒ ปี รวมอายุ ๖๕ ปี ถึงแก่กรรมที่เมืองเชียงคาน

ครั้นศักราช ๘๓๑ ปีฉลูเอกศก ท้าวแท่งคำบุตรพระไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้วที่ ๑ ได้เปนเจ้าเมืองศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว เรียกว่าพระยาสุวรรณปาหลัง ครองเมืองได้ ๗ ปี ไม่มีบุตร อายุได้ ๔๑ ปี ถึงแก่กรรม
ศักราช ๘๓๘ ปีวอกอัฐศก ท้าวพระยาพร้อมกันยกท้าวราชแสนไทบุตรพระยาสามแสนไทที่ ๗ เปนพระยาล่าน้ำแสนไทไตรภูวนารถเจ้าเมืองศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว แล้วให้ท้าวพระยาไปเชิญพระบางที่เมืองเวียงคำ มาไว้วัดเชียงกลางเมืองศรสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว พระยาล่าน้ำแสนไทจึงสร้างพระวิหารหลังหนึ่งชื่อวัดมโนรมย์ เชิญพระบางมาประดิษฐานไว้ในวิหาร พระยาล่าน้ำมีบุตรชายคนหนึ่งชื่อท้าวชมภู พระยาล่าน้ำครองเมืองได้๑๕ ปี รวมอายุ ๓๓ ปีถึงแก่กรรม

ศักราช ๘๕๓ ปีกุนตรีศก ท้าวชมภูบุตรพระยาล่าน้ำได้เปนเจ้าเมือง ๕ ปี ไม่มีบุตร อายุได้ ๑๕ ปีถึงแก่กรรม

ศักราช ๘๕๘ ปีมโรงอัฐศก ท้าวพระยาพร้อมกันยก ท้าวภูเพบุตรพระไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้วที่ ๒ เปนเจ้าเมืองศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว เรียกว่าพระยาวิชุลราชธิบดี ๆ สร้างพระอุโบสถหลังหนึ่ง เชิญพระบางประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถ วัดวิชุลราช พระยาวิชุลราชมีบุตรชายคนหนึ่งชื่อท้าวโพธิสาระ พระยาวิชุบราชครองเมืองได้ ๒๐ ปีรวมอายุ ๕๓ ปีถึงแก่กรรม

ศักราช ๘๗๘ ปีชวดอัฐศก ท้าวโพธิสาระบุตรพระยาวิชุลราชได้เปนเจ้าเมือง เรียกว่าพระยาโพธิสาระล้านช้างร่มขาว อยู่มาพระแซกคำเดิมอยู่ในพระวิหารวัดเมืองเชียงใหม่ เสด็จมาประดิษฐานอยู่ร่วมแท่นใหญ่กับพระบางที่วัดวิชุลราชธาราม เมืองศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว พระยาพรหมราชเจ้าเมืองเชียงใหม่รู้ว่าพระแซกคำหายไป จึงแต่งให้แสนท้าวคุมไพร่ ๒๐ คนไปเที่ยวหาตามหัวเมืองนานาประเทศ จึงแต่งให้แสนท้าวคุมไพร่ ๒๐ คนไปเที่ยวหาตามหัวเมืองนานาประเทศ มาพบพระแซกคำอยู่ในพระอุโบสถวัดวิชุลราชธาราม ครั้นดึกประมาณ ๒ ยามเสศ คนเมืองเชียงใหม่พากันตัดน่าต่างเข้าไปยกเอาพระแซกคำ พวกซึ่งรักษาอุโบสถตื่นขึ้นจับพวกเมืองเชียง ใหม่ได้ทั้ง ๒๐ คน พระยาโพธิสาระให้ยกโทษเสีย ปล่อยตัวกลับไปเมืองเชียงใหม่ พระยาพรหมราชเจ้าเชียงใหม่ทราบว่าเจ้าเมืองหลวงพระบางตั้งอยู่ในยุติธรรมเห็นแก่รพะยาพรหมราชจึงปล่อยตัวพวกซึ่งทำความผิดมาดังนี้ก็มีบุญคุณมาก จึงแต่งให้ท้าวพระยาพานางยอดคำบุตรไปยกให้เปนภรรยาพระยาโพธิสาระ ๆ มีบุตรชาย เจ้าเชษฐวงษา ๑ เจ้าทาเรือ ๑ เจ้าวรวังโส ๑ สามคน บุตรหญิงนางแก้วกุมรี ๑ นางคำเหลา ๑ นางคำไป ๑ สามคน รวม ๖ คน อยู่มาพระยาพรหมราชเจ้าเมืองเชียงใหม่ถึงแก่กรรม ท้าวพระยาเมืองเชียงใหม่นำความมาแจ้งแก่พระยาโพธิสาระ เจ้าเมืองศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว แลขอเจ้าเชษฐวงษาบุตรพระยาโพธิสาระที่ ๑ ขึ้นไปเปนเจ้าเมืองเชียงใหม่ เรีกว่าพระยาไชยเชษฐาธิราชพระยาโพธิสาระครองเมืองได้ ๒๘ ปี รวมอายุ ๔๒ ปีถึงแก่กรรม

ศักราช ๙๐๖ ปีมะโรงฉศก พระไชยเชษฐาธิราชจึงมอบเมืองเชียงใหม่ให้ท้าวพระยาอยู่รักษา พระไชยเชษฐาธิราชลงมาครองเมืองศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว แล้วเชิญพระแก้วมรกฏ เมืองเชียงใหม่ลงมาไว้เมืองศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว พระไชยเชษฐาธิราชครองเมืองได้๖ปี
ครั้นศักราช๙๑๒ ปีจอโทศก พระไชยเชษฐาธิราชจึงแต่งท้าวพระยาถือพระราชสาสน คุมเครื่องราชบรรณาการลงมากรุงศรีอยุทธยา ขอพระราชธิดาสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราช พระเจ้าช้างเผือก ทรงนามว่าพระเทพกระษัตรี ขึ้นไปเปนปิ่นสุรางค์กัลยาในเมืองศรีสัตนาคนหุต สมเด็จพระเจ้าช้างเผือกจึงมีพระราชสาสนตอบขึ้นไปว่า ซึ่งเจ้าเมืองศรีสัตนาคนหุต มีพระไทยจะร่วมพระราชโลหิตเปนสัมพันธมิตรไมตรีนั้นก็อนุญาตให้แต่งผู้คนสิ่งของลงมารับเถิด พระไชยเชษฐาธิราชจึ่งแต่งทูตา นุทูตกับไพร่ ๕๐๐ ท้าวพระยานางเถ้าแก่ลงมารับ สมเด็จพระเจ้าช้างเผือกจึงส่งพระราชธิดาชื่อพระแก้วฟ้า ให้แก่ท้าวพระยาขึ้นไปเมืองศรีสัตนาคนหุต พระไชยเชษฐาธิราชรู้ว่าไม่ใช่องค์พระเทพกระษัตรีก็เสียใจ จึงมีราชสาสนคุมเครื่องราชบรรณาการให้ราชทูตท้าวพระยานำแก้วฟ้าลงมาส่งยังกรุงศรีอยุทธยา ในพระราชสาสนนั้นว่า เดิมพระองค์ประสาทพระเทพกระษัตรีให้ กิติศัพท์เล่าฦาทั้งประเทศเมืองศรีสัตนาคนหุต แล้วพระองค์ส่งพระแก้วฟ้าราชบุตรีขึ้นมานั้น ครั้นจะรับไว้ก็เปนที่อัปรยศแก่ท้าวพระยาแลราษฎรเมืองศรีสัตนาคนหุต ขอส่งพระแก้วฟ้าคืน จงพระราชทานพระเทพกระษัตรีตามอนุญาตแต่ก่อน

ในศักราช ๙๑๒ ปีจอโทศกนั้น พระไชยเชษฐาธิราชได้ขึ้นไปครองเมืองเชียงแสน ครั้นศักราช ๙๑๓ ปีกุนตรีศก สมเด็จพระเจ้าช้างเผือกจึงส่งพระเทพกระษัตรี ให้ราชทูตท้าวพระยานำขึ้นไปถึงนอกด่านเมืองเพชรบูรณ์ สมเด็จพระเจ้าหงษาวดีจึงแต่งให้นายทัพนายกองมาตีชิงเอาพระเทพกระษัตรีไปได้ พระไชยเชษ ฐาธิราชรู้ความแล้วก็โกรธว่าซึ่งพระเจ้าหงษาวดีแต่งรี้พลมาแย่งชิงเอาพระเทพกระษัตรีไปทั้งนี้ ก็เพราะเมืองพระพิศณุโลกเปนต้นคิด จำจะแก้แค้นให้จงได้ จึงเกณฑ์ช้างม้ารี้พลจะยกไปเอาเมืองพระพิศณุโลก สมเด็จพระเจ้าช้างเผือกทราบความก็ตรัสห้าม จึง มิได้ยกไป

จุลศักราช ๙๑๔ ปีชวดจัตวาศก พระมหานทราธิราชพระราชบุตรสมเด็จพระเจ้าช้างเผือก ได้ราชสมบัติในกรุงศรีอยุทธยา ส่งข่าวลับขึ้นไปถึงเมืองศรีสัตนาหุต ว่าให้ยกกองทัพลงมาช่วยกองทัพกรุงศรีอยุทธยาตีกระหนาบเอาเมืองพระพิษณุโลกพระไชยเชษฐาธิราช จึงเกณฑ์ช้างม้ารี้พลลงมาทางเมืองนครไทยถึงเมืองพระ พิศณุโลกให้พระยาสุรินทร์คว่างฟ้า พระยามือไฟ พระยามือเหล็ก ออกตั้งค่ายใกล้เมืองประมาณ ๔๐ เส้น ๕๐ เส้น ฝ่ายพระมหินทราธราชกรุงศรีอยุทธยาก็ยกทัพเรือขึ้นไปตั้งอยู่ปากน้ำพิงค์ พระไชยเชษฐาธิราชจึงให้ไพร่พลทหารเข้าปีนเมือง เหลือกำลังไพร่พลหักเอาเมืองไม่ได้ จึงให้ข้ามคูเข้าไปขุดกำแพงเมืองพระพิษณุโลก ฝ่ายพระมหาธรรมราชาเจ้าเมืองพระพิศณุโลก ให้ทหารออกทลวงฟันพลเมืองศรีสัตนาคนหุตต่อกำลังมิได้ก็ถอยออกไปตั้งมั่นอยู่ในค่าย แล้วพระมหาธรรมราชาเจ้าเมืองพระพิศณุโลกจึงเกณฑ์ให้เอาไม้ไผ่ทำแพเอาไฟจุดลอยลงไป ถึงกองทัพเรือพระมหินทราธิราชมิทันรู้ตัว ไพร่พลแตกตื่นพากันลงเรือทันบ้างมิทันบ้าง เสียเรือแลไพร่พลเปนอันมาก ฝ่ายเจ้าเมืองหงษาวดีรู้ข่าวว่า เมืองพระพิศณุโลก เกิดศึก จึงเกณฑ์กองทัพให้ลงมาช่วยตีหักเอาค่ายพระยามือเหล็กได้ก็เข้าไปในเมืองพระพิศณุโลก แล้วกองทัพเรือสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุทธยาก็เลิกทัพกลับลงไป พระไชยเชษฐาธิราชรู้ว่ากองทัพกรุงศรีอยุทธยาเลิกไปแล้ว ก็ล่าทัพขึ้นไปทางด่านชมภู ให้พระยาแสนสุรินทร์คว่างฟ้า พระยามือเหล็กพระยามือไฟอยู่รั้งหลัง ไปถึงวารีทางช่างแคบ จึงแต่งทหารซุ่มไว้สองข้างทาง แล้วยกพลทหารเข้าไปตั้งข้างในไกลกันประมาณ ๓๐ เส้น ๔๐ เส้น คอยตีทัพซึ่งจะติดตามไป ฝ่ายทัพเมืองหงษาวดีที่มาช่วยเมืองพระพิศณุโลกยกติดตามไปถึงวารีทางแคบก็ล่วงเข้าไปถึงทัพใหญ่ ฝ่ายทหารกองซุ่มได้ทีก็ตีกระหนาบสู้รบกันถึงอาวุธสั้นกองทัพเมืองหงษาวดีแตกฉานหนีไป ผู้คนล้มตาย เก็บได้ช้างม้า เครื่องสาตราวุธเปนอันมาก

ครั้นถึงศักราช ๙๑๗ ปีเถาะสัปตศก พระเจ้าหงษาวดียกกองทัพลงมาล้อมกรุงศรีอยุทธยา สมเด็จพระมหินทราธราชจึงมีศุภอักษรขึ้นไปถึงกรุงศรีสัตนาคนหุต ขอกองทัพลงมาช่วย พระไชยเชษฐาธิราชทราบแล้ว จึงให้เกณฑ์กองทัพประมาณห้าหมื่นพร้อมด้วยช้างม้าเครื่องสาตราวุธยกลงมาถึงเมืองเพ็ชรบูรณ์ พระเจ้า หงษาวดีคิดอุบายมีศุภอักษรประทับตราพระราชสีห์ ให้คนถือขึ้นไปถึงพระไชยเชษฐาธิราชว่าให้รีบยกลงมาช่วย ด้วยกองทัพเมือง หงษาวดีกำลังอดเสบียงอาหาร พระไชยเชษฐาธิราชไม่รู้ในอุบายพระเจ้าหงษาวดี เข้าใจว่าเปนศุภอักษรกรุงศรีอยุทธยาจริง ก็รีบยกลองลงมาถึงเมืองสระบุรี พบกองทัพเมืองหงษาวดีตั้งสกัดอยู่โจมตีกองทัพพระไชยเชษฐาธิราชมิทันรู้ตัวก็แตกกระจัดกระจายไป ผู้คนล้มตายเสียช้างมาเครื่องสาตราวุธเปนอันมาก พระไชยเชษฐาธิราชก็ขึ้นช้างพาไพร่พลที่เหลืออยู่กลับไปเมืองศรีสัตนาคนหุต ครั้งนั้นกรุงศรีอยุทธยาก็เสียแก่พระเจ้าหงษาวดี ๆ ให้พระมหาธรรมราชาเจ้าเมืองพระพิศณุโลกมาครองกรุงศรีอยุทธยา

จุลศักราช ๙๒๑ ปีมะแมเอกศก พระเจ้าหงษาวดียกกองทัพขึ้นไปตีเมืองศรีสัตนาคนหุต ได้สู้รบกันเปนสามารถ กองทัพพระเจ้า หงษาวดีเหลือกำลังหักเอาเมืองมิได้ก็เลิกทัพกลับไป พระไชยเชษฐาธิราชครองเมืองเชียงแสนได้ ๙ ปี
ในศักราช ๙๒๑ ปีมแมเอกศก ให้ท้าวพระยาอยู่รักษาเมืองศรีสัตนาคนหุต, เมืองเชียงแสนพระไชยเชษฐาธิราชลงมาตั้งเมืองเวียงจันท์ มีนามว่าเมืองจันทบุรีศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว แต่พระบาง พระแก้วมรกฎ พระแซกคำอยู่วัดวิชุลราชธรารามเมืองศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว จึ่งเปลี่ยนนามว่า เมืองหลวงพระบางราชธานีศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว พระไชยเชษฐาธิราชครองเมืองจันทบุรีศรีสัตนาคนหุต ได้สร้างพระเจดีย์ก่อคร่อมบรมธาตุพระยาศรีธรรมโสกราชองค์หนึ่ง อยู่มาเจ้าเมืองหงษาวดีให้ อิมมะเรบุตร พระยาอังวะน้อง คุมกองทัพพม่ามาตีเมืองเชียงใหม่ พระยาสามล้าน, พระยาม้าผู้รักษาเมืองสู้ไม่ได้ กวาดครอบครัวลงมาพึ่งพระไชยเชษฐาธิราชเมืองเวียงจันทบุรี แล้วอิมมะเรพระยาอังวะ ยกกองทัพติดตามลงมาตีบ้านเล็กเมืองน้อยจนถึงเมืองจันทบุรี กองทัพอิมมะเรพระยาอังวะจับได้เจ้าอุปราชเมืองเวียงจันท์ ๑ น้องหญิงพระไชยเชษฐาธิราช ๒ นางแทนคำ ๑ มารดานางแทนคำ ๑ ห้าคนส่งไปเมืองหงษาวดี แล้วเลิกทัพกลับไป อยู่มาเจ้าเมืองหงษาวดีแต่งกองทัพลงมาตีเมืองเวียงจันท์อิก พระไชยเชษฐาธิราชพาครอบครัวลงมาตั้งค่ายอยู่ปากน้ำงึม ได้ต่อรบต้านทานกันเปนสามารถ กองทัพเมืองหงษาวดีเหลือกำลังที่จะรบชิงเอาค่ายไม่ได้ก็เลิกทัพกลับไป พระไชยเชษฐาธิราชครองเมืองเชียงใหม่, เชียงแสน, หลวงพระบาง, เวียงจันท์รวม ๒๔ ปี มีบุตรชายคนหนึ่ง ชื่อพระหน่อแก้วแต่ยังเล็ก พระไชยเชษฐาธิราชอายุได้ ๓๙ ปีถึงแก่กรรม
ศักราช ๙๒๙ ปีเถาะนพศก พระยาแสนสุรินทร์คว่างฟ้า พระยาจันทสิงหราชเมืองเวียงจันท์เกิดวิวาทรบกัน จะแย่งเอาพระหน่อแก้วบุตรพระไชยเชษฐาธิราชไปเลี้ยง พระยาสุรินทร์คว่างฟ้าจับพระยาจันทสิงหราชได้ให้ฆ่าเสีย พระยาสุรินทร์คว่างฟ้าได้เปนเจ้าเมืองเวียงจันท์เรียกว่าพระยาสุมังคลโพธิสัตวอวยการาชาประเทศ มีบุตรชายคนหนึ่งเปนพระยานครน้อยพระยาสุมังคลโพธิสัตว์ครองเมืองได้ ๔ ปี

ศักราช ๙๓๓ ปีมแมตรีศก เจ้าเมืองหงษาวดีจัดกองทัพลงมาตีเมืองเวียงจันท์จับได้พระยาสุมังคลโพธิสัตว พระหน่อแก้ว ส่งขึ้นไปเมืองหงษาวดี แล้วตั้งอุปราชซึ่งจับไปครั้งก่อนเปนเจ้าเมืองเวียงจันท์ครั้งนั้นเมืองเวียงจันท์เมืองหลวงพระบางต้องอ่อนน้อมขึ้นพม่าหงษาวดี
ต่อมา แล้วต้องไปบรรณาการกรุงปักกิ่งตามแบบอย่างแต่ก่อนด้วย แลเมืองเชียงแสนตั้งแต่กองทัพพระเจ้าหงษาวดีจับพระยาสุมังคลโพธิสัตวส่งไปเมืองหงษาวดีแล้ว ก็หาได้อ่อนน้อมต่อเมืองหลวงพระบางไม่ ไปพึ่งแก่เมืองเชียงใหม่ อยู่มามีผู้อวดอ้างตั้งตัวเปนพระไชยเชษฐาธิราช เกลี้ยกล่อมได้ผู้คนปลายเขตรปลายแดนยกกองทัพมาตีเมืองเวียงจันท์ เจ้าเมืองเวียงจันท์พาครอบครัวลงเรือหนีขึ้นไปถึงแก่งเรือล่ม เจ้าเมืองเวียงจันท์ถึงแก่กรรม

ศักราช ๙๓๕ ปีรกาเบญจศก เจ้าเมืองหงษาวดีแต่งกองทัพลงมาปราบปรามพวกขบถเรียบร้อยแล้ว ตั้งพระยาสุมังคลโพธิสัตวให้เปนเจ้าเมืองเวียงจันท์ได้ปีหนึ่งถึงแก่กรรมท้าวพระยาเมืองเวียงจันท์ยกพระยานครน้อยบุตรพระยาสุมังคลโพธิสัตวเปนเจ้าเมืองจันทบุรีได้ปี ๑ พระยานครน้อยไม่ตั้งอยู่ในยุติธรรม ท้าวพระยาพร้อม กันขึ้นไปฟ้องต่อเจ้าเมืองหงษาวดี ๆ ให้เอาตัวพระยานครน้อยไว้ แล้วให้ท้าวพระยากลับลงมารักษาบ้านเมือง
ครั้นศักราช ๙๔๒ ปีมโรง โทศก ท้าวพระยาผู้ว่าราชการเมืองเวียงจันท์แต่งให้พระยาเมืองหลวงเมืองแสนเปนแม่ทัพยกขึ้นไปตีเมืองเชียงแสน ได้รบพุ่งกันเปนหลายครั้ง กองทัพเมืองเวียงจันท์จะหักเอาเมืองไม่ได้ก็ตั้งค่ายมั่นอยู่ฝ่ายเจ้าเมืองเชียงแสนมีหนังสือลงมาขอกองทัพเมืองเชียงใหม่แลกองทัพกรุงศรีอยุทธยาขึ้นไปช่วย พระยาเมืองหลวง เมืองแสนทราบว่าสมเด็จพระนเรศวรเปนเจ้ากรุงศรีอยุทธยาให้กองทัพยกขึ้นไปก็เกรงพระบารมี ได้ปฤกษาการบ้านเมืองกันแล้ว ก็เลิกทัพกลับไปเมืองเวียงจันท์ ๆ ไม่มีเจ้าเมือง ว่างเปล่าอยู่ ๙ ปี

ศักราช ๙๔๕ ปีมแมเบญจศก ท้าวพระยาแลพระสงฆ์พร้อมกันขึ้นไปเมืองหงษาวดี ขอพระหน่อแก้วบุตรพระไชยเชษฐาธิราชลงมาครองเมืองเวียงจันท์ได้ ๒ ปี รวมอายุ ๒๖ ปีถึงแก่กรรม

ศักราช๙๔๗ปีรกาสัปตศก ท้าวพระยาจึงยกพระธรรมิกราชบุตรน้าพระหน่อแก้วขึ้นเปนเจ้าเมืองเวียงจันท์ มีบุตรชาย อุปยุวราชพระมอมแก้ว ๒ คนพระธรรมิกราชครองเมืองได้ ๗ ปีถึงแก่กรรม

ศักราช ๙๕๔ ปีมโรงจัตวาศก ท้าวพระยาเอาผู้มีตระกูลในวงษ์พระไชยเชษฐาธิราชครองเมืองต่อมาได้ ๔ ปี
แลในศักราช ๙๕๕ ปีมเสงเบญจศกนั้น เจ้าเมืองเวียงจันท์แลท้าวพระยาพร้อมกันเห็นว่าในกรุงศรีอยุทธยาเปนแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรเปนเจ้า มีบุญญาธิการแผ่อาณาเขตรกว้างขวางออกไปมาก จึงแต่งราชทูตถือพระราชสาสนคุมเครื่องราชบรรณาการลงมาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารณ กรุงศรีอยุทธยาครั้งหนึ่ง

ศักราช ๙๕๘ ปีวอกอัฐศก อุปยุวราชบุตรพระธรรมิกราชที่ ๑ ได้เปนเจ้าเมืองเวียงจันท์ มีบุตรชาย เจ้าตวนคำ เจ้าวิไชยอุปยุวราชครองเมืองได้ ๑๒ ปีถึงแก่กรรม

ศักราช ๙๗๐ ปีวอกสัมฤทธิศก เจ้าตวนคำบุตรอุปยุวราชที่ ๑ ได้เปนเจ้าเมืองเวียงจันท์มีบุตรชาย เจ้าชมภู ๑ เจ้าบุญชู ๑ เจ้าสุริยวงษ์ ๑ สามคน เจ้าวิไชยน้องเจ้าตวนคำมีบุตรชาย เจ้าปุ ๑เจ้าสอย ๑ เจ้าตวนคำครองเมืองได้ ๑๖ ปีก็ถึงแก่กรรม

ศักราช ๙๘๕ ปีกุนเบญจศก ท้าวพระยายกเจ้าสุริยวงษ์บุตรเจ้าตวนคำที่ ๓ เปนเจ้าเมืองเวียงจันท์ เรียกว่าพระยาสุริยวงษา ธรรมิกราชบรมบพิตร แล้วกลัวเจ้าชมภู เจ้าบุญชู เจ้าปุผู้ที่จะชิงเอาราชสมบัติ จึงให้ขับไล่เจ้าชมภู เจ้าบุญชู เจ้าปุไปจากบ้านเมือง เจ้าชมภูพาภรรยากับแสยทิพนาบัวหนีไปเมืองญวน มีบุตรชายคนหนึ่งชื่อพระไชยองแว้, เจ้าชมภูถึงแก่กรรมทที่เมืองญวน แสนทิพนาบัวได้มารดาพระไชยองแว้เปนภรรยา มีบุตรชายชื่อท้าวน้อง ๑ ท้าวราชวงษา ๑ สองคน เจ้าบุญชูหนีไปบวชอยู่วัดภูหอภูโรง เจ้าปุพาภรรยาไปอยู่เมืองนครพนม มีบุตรชายคนหนึ่งชื่อเจ้านันทราช  เจ้าปุถึงแก่กรรมที่เมืองนครพนม พระยาสุริยวงษาครองเมืองเวียงจันท์ ได้ว่ากล่าวเขตรแขวงข้างใต้ตั้งแต่ลี่ผีขึ้นไปข้างเหนือแต่ผากะไดลงมาข้างซ้ายต่อแดนกรุงศรีอยุทธยา กำหนดไม้ประดู่ ๓ ต้น อ้น ๒ ขุย ข้างขวาต่อแขวงเมืองญวน กำหนดต้นซาน ๓ กิ่ง มีลำน้ำสามคลองเปนอาณาเขตร
พระยาสุริยวงษามีบุตรชาย เจ้าราชบุตร ๑ บุตรหญิงนางกุมารี ๑ นางสุมัง ๑ สามคน อยู่มาฮ่อยก กองทัพมาตีเมืองเชียงรุ้งแสนหวีฟ้า เจ้าอินทกุมารเมืองเชียงรุ้งแสนหวีฟ้าจึงพานางจันทกุมารีผู้น้องลงมาพึ่งพระยาสุริยวงษาเจ้าเมืองเวียงจันท์ เจ้าราชบุตรได้นางจันทกุมารีเปนภรรยามีบุตรชายเจ้ากิงกิสะ เจ้าอินทโสม อยู่มาเจ้าราชบุตรทำชู้ด้วยภรรยาท้าวโกขุนนาง พระสุริยวงษาให้ฆ่าเจ้าราชบุตรเสีย เจ้าอินทกุมารเมืองเชียงรุ้งแสนหวีฟ้า ได้ลาวเมืองเวียงจันท์เปนภรรยามีบุตรชายเจ้าองค์นก พระยาสุริยวงษาครองเมืองได้ ๕๘ ปี รวมอายุ ๘๓ ปีถึงแก่กรรม

ศักราช ๑๐๔๓ ปีรกาตรีศก พระยาเมืองจันได้เปนเจ้าเมืองเวียงจันท์ เจ้านันทราชบุตรเจ้าปุที่หนีไปอยู่เมืองนครพนมได้เปนเจ้าเมืองนครพนม เกณฑ์กองทัพยกมาตีเมืองเวียงจันท์ จับพระยาเมืองจันฆ่าเสีย เจ้านันทราชได้เปนเจ้าเมืองเวียงจันท์ แล้วพระไชยองแว้บุตรเจ้าชมภูที่หนีขึ้นไปอยู่เมืองเวียดนาม ขอกองทัพญวน ยกมาตีเมืองเวียงจันท์จับเจ้านันทราชได้ฆ่าเสีย พระไชยองแว้บุตร เจ้าชมภูได้เปนเจ้าเมืองเวียงจันท์ แล้วให้ท้าวนองผู้น้องต่างบิดากันขึ้นไปรักษาเมืองหลวงพระบาง เจ้ากิงกิสะ เจ้าอินทโสมบุตรเจ้าราชบุตร เจ้าองค์นกบุตรเจ้าอินทโสมเมืองเชียงรุ้งแสนหวีฟ้ากลัวพระไชยองแว้จะมีความพยาบาท แต่ครั้งปู่ขับไล่บิดาพระไชยองแว้ไปเมืองญวนก็พากันหนีไป เจ้ากิงกิสะเจ้าองค์นกไปอยู่เมืองล่าเมืองพงเจ้าอินทโสมอยู่เมืองแพร่
ครั้งนั้นเมืองเวียดนามกับเมืองเวียงจันท์ เมืองหลวงพระบางเปนบ้านพี่เมืองน้องไปมาหากัน แต่ไม่มีเครื่องบรรณาการส่วยอากรสิ่งใด อยู่มาเจ้ากิงกิสะ เจ้าองค์นกเกลี้ยกล่อมคนเมืองล่าเมืองพงได้ ยกเปนกองทัพลงมาตั้งอยู่กลางทาง ท้าวนองซึ่งรักษาเมืองหลวงพระบางรู้ว่ากองทัพเจ้ากิงกิสะยกลงมา ก็เชิญเอาพระบางพระแก้วมรกฎ พระแซกคำหนีลงมาเมืองเมืองเวียงจันท บุรีศรีสัตนาคนหุต เจ้ากิงกิสะก็ยกกองทัพเข้าเมืองหลวงพระบางเจ้ากิงกิสะบุตรเจ้าราชบุตรได้เปนเจ้าเมืองหลวงพระบาง มีนามว่าพระยากิงกิสะ เจ้าองค์นกบุตรเจ้าอินทกุมารเปนอุปราช
จุลศักราช ๑๐๕๗ ปีกุนสัปตศก พระยากิงกิสะเจ้าเมืองหลวงพระบางราชธานีศรีสัตนาคนหุต เกณฑ์กองทัพยกไปตีเมืองเวียงจันทบุรีศรีสัตนาคนหุต เจ้าเมืองเวียงจันทบุรีศรีสัตนาคนหุมีศุภอักษรลงมายังกรุงศรีอยุทธยาขอกองทัพขึ้นไปช่วย สมเด็จพระเพทราชาธิราชพระเจ้าอยู่หัวกรุงศรีอยุทธยา จึงให้นายทัพนายกองคุมไพร่ช้างม้ารี้พลยกขึ้นไปช่วยเมืองเวียงจันท์บุรีศรีสัตนาคนหุต ครั้นนายทัพนายกองกรุงศรีอยุทธยายกขึ้นไปถึงเมืองจันทบุรี จึงมีหนังสือไปถึงนายทัพนายกองเมืองหลวงพระบางว่า ให้เปนทางไมตรีประนีประนอมกับเมืองจันทบุรีศรีสัตนาคนหุตดังแต่ก่อนมา ครั้นนายทัพนายกองเมืองหลวงพระบางแจ้งในหนังสือนายทัพนายกองกรุงศรีอยุทธยาแล้ว ก็มีความครั่น คร้ามเกรงพระเดชานุภาพสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกรุงศรีอยุทธยา จึงยอมเปนทางไมตรีกับเมืองจันทบุรีศรีสัตนาคนหุตสืบไป ไม่มีความอาฆาฎซึ่งกันแลกัน ฝ่ายกองทัพกรุงศรีอยุทธยาแลกองทัพเมืองหลวงพระบางต่างคนต่างเลิกทัพกลับไปบ้านเมือง พระยากิงกิสะเจ้าเมืองหลวงพระบาง พระไชยองแว้เจ้าเมืองจันทบุรีพร้อมกันแบ่งปันเขตรแดนบ้านเมือง (ตรงนี้ต้นฉบับขาดหายไปอ่านไม่ได้ความ) พ้นจากปากน้ำเหืองเหนือเมืองเชียงคาน ฝ่ายตวันออกปากน้ำมิใต้เมืองเชียงคานไปถึงลี่ผีเปนเขตรแขวงเมืองเวียงจันท์ ตั้งแต่น้ำของฝ่ายตวันออกปากน้ำมิ ฝ่ายตวันตกปากน้ำเหืองขึ้นไปถึง ผากะได ข้างซ้ายต่อแดนกรุงศรีอยุทธยากำหนดไม้ประดู่สามต้นข้างขวาต่อแดนเมืองญวนกำหนดต้นซานสามกิ่ง หัวพันทั้ง ๖ สิบสองน่าด่านเปนแขวงเมืองหลวงพระบาง พระยากิงกิสะเจ้าเมือง หลวงพระบางมีบุตรชื่อเจ้าแทนสาว เจ้าแทนคำ อักไซรคำ ๓ คน พระยากิงกิสะครองเมืองได้ ๒๒ ปีก็ถึงแก่กรรม

ศักราช ๑๐๗๕ ปีมเสงเบญจศก ท้าวพระยายกเจ้าองค์นกอุปราชขึ้นเปนเจ้าเมือง มีนามว่าสมเด็จบรมเชษฐขัติยสุริยวงษาเจ้าเมืองหลวงพระบางครองเมืองได้ ๑๐ ปี เจ้าอินทโสมบุตรเจ้าราชบุตรที่ ๒ น้องพระยากิงกิสะเกลี้ยกล่อมได้ไพร่พลเมือง ๆ ล่าเมืองพง ยกกองทัพลงมาตั้งอยู่เมืองงอยในลำอู เจ้าองค์นกจึงปฤกษาท้าวพระยาว่าจะยกกองทัพขึ้นไปสู้รบป้องกันรักษาเขตรแดนก็ได้ แต่เห็นว่าไพร่พลจะยับย่อยทั้งสองฝ่าย แล้วก็จะขาดพระญาติแลพระราชไมตรีกัน จึงให้นิมนต์พระสงฆ์แลข้าราชการมาประชุมพร้อมแล้ว เจ้าองค์นกตั้งความสาบาลว่าจะไม่คิดประทุษฐร้ายแก่กันแล้วจึงเชิญเจ้าอินทโสมลงมาให้ว่าราชการเมืองด้วย
ภายหลังเจ้าองค์นกกับมหาดเล็กไปต่อนกเขา พระยาเมืองซ้ายกับเจ้าอินทโสมร่วมคิดกันปิดประตูเมืองเสีย ยกเจ้าอินทโสมขึ้นครองเมืองหลวงพระบางในศักราช ๑๐๘๕ ปีเถาะเบญจศก เจ้าองค์นกกลับมาเห็นประตูเมืองปิดมีผู้คนรักษาน่าที่ จะเข้าเมืองไม่ได้ ก็พาบุตร ๗ คน กับมหาดเล็กไปถึงเมืองเลิก จึงตั้งความอธิฐานว่า ถ้าจะได้ ครองบ้านเมืองต่อไปจะข้ามสพานไปขอให้สพานหัก ครั้นอธิฐานแล้วก็ข้ามสพานไปสพานก็หัก เจ้าองค์นกจึงบวชเปนพระภิกขุที่วัดเลือก แล้วไปอยู่วัดช้างเผือกเมืองเชียงใหม่ อยู่มาเจ้าเมืองเชียงใหม่ถึงแก่กรรม มีบุตรอยู่ ๒ องค์ เจ้าอังวะแต่งกองทัพประมาณ ๑๗๐๐๐๐ ยกมาล้อมเมืองเชียงใหม่ ท้าวพระยาเมืองเชียงใหม่คุมกองทัพออกรบพม่าหลายครั้งก็สู้ไม่ได้ จึงปฤกษาพร้อมกันว่า เจ้าองค์นกเมืองหลวงพระบางหนีมาบวชอยู่วัดช้างเผือกจึงเอาขันทองคำ ๓ ขันจารึกนามบุตรเจ้าเมืองเชียงใหม่ ๒ องค์ ๆ ละขัน จารึกนามเจ้าองค์นกขัน ๑ แล้วลงไปพร้อมกันที่แม่น้ำปิงอธิฐานว่าถ้าเจ้าองค์ใดจะมีบุญครอบครองเมืองเชียงใหม่ แลปราบข้าศึกพม่าได้ ขอให้ขันพระนามองค์นั้นลอยทวนขึ้นเหนือน้ำ ขันทองมีนามบุตรเจ้าเชียงใหม่ทั้ง ๒ องค์นั้นลอยตามน้ำไป แต่ขันทองมีนามเจ้าองค์นกลอยทวนขึ้นเหนือน้ำ ท้าวพระยามีความยินดีพร้อมกัน เชิญเจ้าองค์นกลาผนวชขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ได้ ๗ วัน จึงเกณฑ์กองทัพออกไปรบพม่า ๆ แตกหนีไป
เจ้าองค์นกครองเมืองเชียงใหม่ มีบุตรชายกับนางยองคนเมืองเชียงใหม่ชื่อเจ้าต้น เจ้าวงษ์ เจ้าติศะ บุตรเจ้าองค์นกตามไปแต่เมืองหลวงพระบาง ๗ คน รวม ๑๐ คนก็ได้ครองเมืองเชียงใหม่สืบ ๆ กันมา เจ้าอินทโสมครองเมืองหลวงพระบางได้ ๑๓ ปี เจ้าโนชา เจ้าไชยสารบุตรองค์นกซึ่งอยู่เมืองหลวงพระบางกับพระยาเชียงใต้ ท้าวอินน้ำงาทิดสุวรรณเกลี้ยกล่อมผู้คนได้๘๐๐ เสศจะเข้าตีเอาเมืองหลวงพระบาง เจ้าอินทโสมเจ้าเมืองหลวงพระบางให้เกณฑ์คนจับเจ้าโน เจ้าไชยสาร พระยาเชียงใต้ได้ฆ่าเสีย เจ้าอินทโสมมีบุตรชาย เจ้าโชติกะ ๑ เจ้าอนุรุธ๑ เจ้านาค๑ เจ้านารทะ ๑ เจ้าเชษฐวังโส ๑ เจ้าองค์เอก ๑ เจ้าสุริยวงษ์ ๑ เจ้าสุรวงษา ๑ เจ้าอินทพรหม ๑ เก้าคน มีบุตรหญิงนางแก้วรัตนพิมพา๑ นางศรีคำกอง ๑ นางสุชาดา ๑ นางสุธรรมา ๑ นางมาศ ๑ นางแว่นแก้ว ๑ หกคน รวม ๑๕ คน เจ้าอินทโสมครองเมืองได้ ๒๖ ปีก็ถึงแก่กรรมในศักราช ๑๑๑๑ ปีมเสงเอกศก เมื่อ เจ้าอินทโสมครองเมืองเหลวงพระบางหาได้อ่อนน้อมต่อเมืองญวนไม่เจ้าเวียดนามจึงแต่งให้องเจียงเทียมตาเทียมเจ๊กคุมกองทัพยกมาตีเมืองหลวงพระบาง
ท้าวพระยาพร้อมกันให้เจ้าอินทพรหมบุตรเจ้าอินทโสมที่ ๙ เปนแม่ทัพคุมกองทัพออกไปรบญวนทนฝีมือไม่ได้แตกหนีไป ท้าวพระยาจึงยกเจ้าอินทพรหมเปนเจ้าเมืองหลวงพระบางได้ ๘ เดือน จุลศักราช ๑๑๑๒ ปีมะเมียโทศก เจ้าอินพรหมจึงมอบให้เจ้าโชติกะบุตรบุตรเจ้าอินทโสมที่๑ผู้พี่เปนเจ้าเมืองหลวงพระบางแล้วเมืองเวียงจันท์มีหนังสือยุยงขึ้นไปเมืองอังวะขอกองทัพลงมาตีเมืองหลวงพระบาง เจ้าอังวะแต่งให้โปนานวคุมกองทัพลงมาตีเมืองหลวงพระบางจับได้เจ้าสุริยวงษ์บุตรเจ้าอินทโสมที่ ๗ กับไพร่ ๖๐๐ คน แล้วเลิกทัพกลับไปเมืองอังวะ เจ้าโชติกะครองเมืองหลวงพระบางได้ ๑๔ ปี เจ้าอังวะแต่งให้เจ้าสุริยวงษ์เปนแม่ทัพคุมกองทัพพม่ากับไพร่ลาวเมืองหลวงพระบาง ๖๐๐ คนไปตีเมืองล่า เมืองแมน เจ้าสุริยวงษ์กับไพร่ลาว๖๐๐ คนพากันหนีลงมาเมืองแถง ศักราช ๑๑๒๖ ปีวอกฉศก จึงให้หนังสือลงมาถึงเมืองหลวงพระบางว่าจะขอเข้ามาช่วยทำนุบำรุงบ้านเมือง เจ้าโชติกะเจ้าเมืองหลวงพระบางไม่ให้เข้ามา เจ้าสุริยวงษ์จึงเกณฑ์กองทัพตามหัวเมืองยกมาประมาณ ๓ ยามเสศ เข้าตีปล้นเอาเมืองหลวงพระบางได้ เจ้าโชติกะเจ้าเมืองหลวงพระบางท้าวพระยาแลญาติพี่น้องพากันหนีลงมาอยู่บ้านน้ำรุง นางศรีคำกองพี่เจ้าสุริยวงษ์ถามว่ายกกองทัพมาทั้งนี้หมายจะฆ่าญิติพี่น้องหรือ เจ้าสุริยวงษ์ว่าคิดถึงญาติพี่น้องหนีพม่าลงมาก็ไม่ให้เข้าบ้านเมือง จึงได้เกณฑ์กองทัพตีเข้ามาจะได้เห็นหน้าญาติพี่น้อง นางศรีคำกองจึงให้นิมนต์พระสงฆ์ราชาคณะมาพร้อมกัน ให้เจ้าสุรยิวงษ์สาบาลตัวว่าไม่คิดทำร้ายแก่พี่น้องแล้ว จึงให้พระราชาคณะลงไปเชิญเจ้าเมืองหลวงพระบางกับญาติพี่น้องขึ้นมา เจ้าเมืองหลวงพระบางก็มอบบ้านเมืองให้เจ้าสุริยวงษ์ผู้น้องครองเมืองหลวงพระบาง ศักราช ๑๑๓๓ปีเถาะตรีศก
ครั้งนั้นเมืองญวนกับเมืองหลวงพระบางต่างคนต่างมีบรรณาการไปมาหากันสืบมา เจ้าสุริยวงษ์เจ้าเมืองหลวงพระบางจึงเกณฑ์กองทัพไปแก้แค้นทดแทนตีเมืองเวียงจันท์ ได้รบพุ่งกัน อยู่ ๒ เดือน เจ้าบุญสาระเจ้าเมืองเวียงจันท์มีหนังสือขึ้นไปขอกองทัพพม่าลงมาช่วย เจ้าเมืองอังวะแต่งให้ชิกชิงโป, โปสุพลาคุมกองทัพประมาณ ๕๐๐๐ ยกลงมาตีเมืองหลวงพระบาง เจ้าสุริยวงษ์เจ้าเมืองหลวงพระบางยกกองทัพขึ้นไปต่อรบพม่าประมาณ ๑๕ วัน กองทัพพม่าตีได้เมืองหลวงพระบาง เจ้าสุริยวงษ์ก็ยอมเปนเมืองขึ้นแก่กรุงอังวะตามเดิม

ศักราช ๑๑๓๖ ปีมเมียฉศก กรุงเทพ ฯ ครั้งนั้นเปนแผ่นดินพระเจ้าตาก มีพระราชสาสนกับเครื่องบรรณาการไปเมืองหลวงพระบาง ขอเปนทางไมตรีไปมาหากัน เจ้าเมืองหลวงพระบางมีความโสมนัศยินดี ครั้น ณ ปีวอกอัฐศก เจ้าเมืองหลวงพระบางมีศุภอักษรกับเครื่องราชบรรณาการแต่งท้าวพระยาคุมลงมากรุงเทพฯ แล้วโปรดพระราชทานทรัพย์สิ่งของ ให้แก่ท้าวพระยาคุมขึ้นไปให้เจ้าเมืองหลวงพระบางตามสมควร

ศักราช ๑๑๔๐ ปีจอสัมฤทธิศก เจ้าบุญสารเจ้าเมืองเวียงจันท์แต่งให้พระยาสุโภคุมกองทัพลงไปตรีเมืองดอนมดแดง ซึ่งเปนข้าขอบขัณฑสีมากรุงเทพ ฯ แล้วจับพระวอเจ้าเมืองฆ่าเสีย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัวกรุงเทพ ฯ ทรงพระพิโรธ โปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากระษัตริย์ศึก เจ้าพระยาสุรสีห์ คุมไพร่พลในกรุงนอกกรุง ขึ้นไปตีเมืองเวียงจันท์ สมเด็จเจ้าพระยามหากระษัตริย์ศึกมีหนังสือไปถึงเมืองหลวงพระบาง ขอยกกองทัพไปตีเมืองเวียงจันท์ เจ้าเมืองหลวงพระบางแต่งท้าวพระยาคุมไพร่สามพัน ยกลงไปช่วยตีเมืองเวียงจันท์เหนือเมืองข้างทิศอิสาณ ครั้นตีเมืองเวียงจันท์สิ้นศึกแล้วเมืองหลวงพระบางก็ยอมเปนเมืองขึ้นข้าขอบขัณฑสิมากรุงเทพฯ

ครั้งนั้นเมืองอังวะกับเมืองหลวงพระบางก็ขาดทางไมตรี หาได้ไปมาไม่ เมืองหลวงพระบางยังต้องไปบรรณาการแก่กรุงปักกิ่ง๕ ปีไปครั้งหนึ่ง กับที่กรุงเทพ ฯ ถึงปีก็มีดอกไม้เงินทองลงมาทูลเกล้า ฯ ถวาย แต่เมืองเวียดนามกับเมืองหลวงพระบางก็ยังไปมาหากันอยู่ เจ้าสุริยวงษ์เจ้าเมืองหลวงพระบางเห็นว่าทางเมืองหลวง พระบางจะไปบรรณาการเมืองปักกิ่งไกล ทางไปทางมาถึง ๓ ปี จึงแต่งให้พระยาเมืองแสนคุมเครื่องราชบรรณาการไปเมืองปักกิ่ง แล้ว ขอ ๑๐ ปีไปครั้งหนึ่ง เพิ่มเครื่องราชบรรณาการขึ้นอิกสิ่งละส่วนแต่นั้นมาเมืองหลวงพระบางไปบรรณาการเมืองปักกิ่ง ๑๐ ปีครั้งหนึ่ง ต่อ ๆ มา

ครั้นศักราช๑๑๔๔ปีขาลจัตวาศก ที่กรุงเทพฯ นั้นพระยาสรรค์จับพระเจ้าตากสำเร็จโทษเสีย สมเด็จเจ้าพระยามหากระษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกถวับยราชสมบัติกรุงเทพฯ ทรงพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ เมืองหลวงพระบางก็คงเปนข้าขอบขัณฑสีมากรุงเทพ ฯ ตามเดิม เจ้าสุริยวงษ์เจ้าเมืองหลวงพระบางครองเมืองได้ ๒๖ ปีก็ถึงแก่กรรม

ศักราช ๑๑๕๓ ปีกุญตรีศก ในกรุงเทพ ฯ เปนแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ ท้าวพระยาพร้อมกันขอ เจ้าอนุรุธบุตรเจ้าอินทโสมที่ ๒ ผู้พี่เจ้าสุริยวงษ์ขึ้นเปนเจ้าเมืองหลวงพระบาง เจ้านากบุตรบุตรเจ้าอินทโสมที่ ๓ เปนอุปราช เจ้ามังธาตุราชบุตรเจ้าอนุรุธที่ ๑ เปนราชวงษ์ ครองเมืองได้ปีหนึ่ง ศักราช ๑๑๕๔ ปีชวดจัตวาศก เจ้านันทเสนเจ้าเมืองเวียงจันท์มีความพยาบาทกับเมืองหลวงพระบาง จึงเกณฑ์กองทัพยกขึ้นไปตีเมืองหลวงพระบาง ได้สู้รบกันประมาณสิบสี่สิบห้าวัน เจ้าอุปราชเมืองเวียงจันท์ถูกปืนพวกเมืองหลวงพระบางตายในที่รบ เจ้าเมืองเวียงจันท์เห็นเหลือกำลัง จึงคิดอุบายมีหนังสือลับเข้าไปถึงนางแทนคำภรรยาเจ้าสุริยวงษ์เจ้าเมืองหลวงพระบางที่ถึงแก่กรรม ว่าให้นางแทนคำ ช่วยคิดอ่านเอาเปนธุระในการสงครามครั้งนี้ ถ้าสำเร็จความปราดถนาแล้วจะยกนางแทนคำขึ้นเปนมเหษี แล้วจะมอบราชสมบัติให้ นางแทนคำหลวงด้วยกลมารยาข้าศึก จึงให้หัวกันเมืองวาคนสนิทเกณฑ์พรรคพวกไปรักษาน่าที่แลประตูด้านทิศอาคเณย์ ถ้ากองทัพพวก เมืองเวียงจันท์ยกมาก็อย่าให้ป้องกัน ให้เปิดประตูเมืองปล่อยเข้ามาโดยสดวก แล้วนางแทนคำมีหนังสือนัดหมายไปถึงเจ้าเมือง เวียงจันท์ ๆ ทราบแล้วถึงวันนัดก็คุมพลทหารยกเข้าไปในเมืองหลวงพระบาง ฆ่าฟันราษฎรล้มตายเปนอันมาก จับได้เจ้าอนุรุธเจ้าเมืองหลวงพระบาง เจ้าอุปราช เจ้าราชวงษ์ ญาติพี่น้อง แลกวาดครอบครัวเมืองหลวงพระบางลงมาเมืองเวียงจันท์ แล้วตั้งพระยาหลวงแสนอยู่รักษาเมืองหลวงพระบาง แล้วเจ้าเมืองเวียงจันท์แต่งให้ท้าวพระยาคุมเอาตัวเจ้าเมืองหลวงพระบาง เจ้าอุปราช เจ้าราชวงษ์กับญาติพี่น้องลงมาส่งณกรุงเทพ ฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์โปรดให้เอาตัวเจ้าเมืองหลวงพระบาง เจ้าอุปราช เจ้าราชวงษ์กับญาติพี่น้องจำไว้ ณ กรุงเทพ ฯ
ในศักราช ๑๑๕๔ ปีชวดจัตวาศกนั้น อยู่มาเมืองแถง เมืองพวนตั้งขัดแข็งต่อเมืองเวียงจันท์ เจ้าเมืองเวียงจันท์จึงแต่งกองทัพขึ้นไปตีเมืองแถง เมืองพวน ได้พวกลาวทรงดำลาวพวน ส่งลงมาณ กรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์โปรด ให้ส่งลาวทรงดำออกไปตั้งอยู่เมืองเพชรบุรี ลาวพวนให้ตั้งอยู่กรุงเทพ ฯ พระยาหลวงแสนรักษาเมืองหลวงพระบางได้ ๔ ปี

ศักราช ๑๑๕๗ ปีเถาะสัปตศก อุปราชาเจ้าเมืองไซซึ่งขึ้นแก่เมืองหลวงพระบางนำเครื่องบรรณาการขึ้นไปเมืองปักกิ่ง แล้วทูลเจ้า ปักกิ่งให้ช่วยขอเจ้าเมืองหลวงพระบาง เจ้าอุปราช เจ้าราชวงษ์กับญาติพี่น้องต่อกรุงเทพ ฯ กลับขึ้นไปรักษาบ้านเมืองตามเดิม เจ้าปักกิ่งจึงให้
เพี้ยศรีปองอ้องกับพระยาสินพรหมเมืองเชียงรุ้งถือศุภอักษรกับเครื่องราชบรรณาการมาทางเมืองพิไชยลงมา ณ กรุงเทพ ฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์จึงโปรดเกล้า ฯ ยกโทษเจ้าอนุรุธ เจ้าเมืองหลวงพระบาง , เจ้านากอุปราช, เจ้ามังธาตุราชราชวงษ์, กับญาติพี่น้องให้กลับขึ้นไปเมืองหลวงพระบางว่าราชการบ้านเมืองตามเจ้าปักกิ่งขอต่อไป จึงโปรดเกล้า ฯ ตั้งเจ้าอภัยบุตรเจ้าอุปราชนากที่ ๑ เปนเจ้าหอน่า ขึ้นไปช่วยว่าราชการบ้านเมือง แล้วโปรดให้มีศุภอักษรขึ้นไปเมืองเวียงจันท์ ให้ส่งครอบครัวเมืองหลวงพระบางไปอยู่ตามภูมิลำเนาเดิม เจ้าเมืองหลวงพระบาง เจ้าอุปราช เจ้าราชวงษ์ เจ้าหอ น่าแลญาติพี่น้อง กราบถวายบังคมลาขึ้นไปรักษาบ้านเมืองสืบไป

เจ้าเมืองหลวงพระบางอนุรุธมีบุตรชาย เจ้ามังธาตุราชราช วงษ์ ๑ เจ้าสุทธราช ๑ เจ้าไชยราช ๑ เจ้าราชไภย ๑ เจ้าอุ่นแก้ว ๑ เจ้าช้าง ๑ หกคน บุตรหญิง นางทุมา ๑ เจ้าหลา ๑ เจ้าวัยกา ๑ สามคน รวม ๙ คน

เจ้าอุปราชนากมีบุตรชาย เจ้าอภัยเปนที่หอน่า ๑ เจ้าสุทธ ๑ เจ้าอินท ๑ เจ้าพรหม ๑ เจ้าม้ง ๑ เจ้าลาน ๑ เจ้าสญไชย ๑ เจ็ดคน

เจ้าอภัยหอน่ามีบุตรชาย เจ้างอนคำ ๑ เจ้าแก่นคำ ๑ เจ้าฮอดคำ ๑ สามคน

เจ้าสุทธบุตรเจ้าอุปราชที่๒ มีบุตรชาย เจ้าคำบัว ๑ บุตรหญิง เจ้าคำตัน ๑ สองคน

เจ้าอินทร์ บุตรเจ้าอุปราชที่ ๓ มีบุตรชาย เจ้าคำโป ๑ บุตรหญิง เจ้าคำตือ ๑ เจ้าคำอ้น ๑ สามคน

เจ้าม้งบุตรเจ้าอุปราชที่ ๕ มีบุตรชาย เจ้าคำปาน ๑ บุตรหญิง เจ้าคำปอง ๑ เจ้าคำกอง ๑ สามคน

เจ้าสญไชยบุตรเจ้าอุปราชที่ ๗ มีบุตรชาย เจ้าคำเง่า ๑ เจ้าคำแสน ๑ เจ้าคำเมิด ๑ เจ้าคำปะ ๑ เจ้าคำยิ่ง ๑ เจ้าคำอ่อน ๑ บุตรหญิงเจ้าคำตัน๑ เจ้าคำสุทธิ๑ เจ้าคำทิพ ๑ เจ้าคำแจง ๑ สิบคน

เจ้าเมืองเหลวงพระบางอนุรุธครองเมืองได้ ๒๕ ปี รวมอายุ ๘๒ ปีถึงแก่กรรม เจ้าอุปราชนากก็ถึงแก่กรรมต่อ ๆ กันมา

ศักราช ๑๑๗๘ ปีชวดอัฐศก ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ จึงโปรดเกล้า ฯ ตั้งเจ้ามังธาตุราชราชวงษ์บุตรเจ้าเมืองหลวงพระบางอนุรุธที่ ๑ เปนเจ้าเมืองหลวงพระบาง เจ้าสุทธราชบุตรเจ้าเมืองหลวงพระบางอนุรุธที่๔เปนราชวงษ์ ขึ้นไปปกครองบ้านเมือง

เจ้าเมืองหลวงพระบางมังธาตุราชมีบุตรชาย เจ้าศุขเสิม ๑ เจ้าจันทราช ๑ เจ้าโพเนื้อทอง ๑ เจ้าอุ่นคำ ๑ เจ้าคำบัว ๑ เจ้าบวรพันธุ์ ๑ เจ้าสุทธิสาร ๑ เจ้าโพธิสาร ๑ เจ้าสุพรรณ ๑ บุตรหญิง เจ้ายอดคำ ๑ เจ้าฉิมมา ๑ เจ้าทองทิพ๑ เจ้าเบงคำ ๑ เจ้าฉิมพลี ๑ เจ้าทองสุก ๑ สิบห้าคน

เจ้าสุทธราชอุปราชมีบุตรชาย เจ้าราชไภย ๑ เจ้าบุตรไตร ๑ เจ้าคำเม้า ๑ เจ้าศรีวิไชย ๑ เจ้าคำแก่น ๑ เจ้าคำสิง ๑ เจ้าคำบัว ๑ เจ็ดคน

เจ้าอภัยราชวงษ์มีบุตรชายเจ้าสุริวงษ์ ๑ เจ้าคำปาน ๑ เจ้าคำสุก ๑ เจ้าไชย ๑ บุตรหญิง เจ้าคำปอล ๑ เจ้าคำแว่น ๑ เจ้าคำผิว ๑ เจ้าบัวแก้ว ๑ แปดคน

เจ้าไชยราชบุตรเจ้าเมืองเหลวงพระบางอนุรุธที่ ๓ มีบุตรชายเจ้าคำองค์คน ๑

เจ้าช้างบุตรเจ้าเมืองหลวงพระบางอนุรุธที่ ๖ มีบุตรชาย เจ้าคำฟัน ๑ เจ้าคำตัน ๑ สองคน

ศักราช ๑๑๘๒ ปีมโรงโทศก เจ้าหมาน้อยกับเจ้ามหาวังเมืองเชียงรุ้งแสนหวีฟ้าเกิดวิวาทกัน เจ้ามหาน้อยหนีมาพึ่งเมืองหลวงพระบาง เจ้าเมืองหลวงพระบางมังธาตุราชแต่งให้เจ้าอุปราช เจ้าอุ่นแก้วคุมกองทัพยกขึ้นไปตั้งอยู่เมืองบูรณ์เหนือ แล้วเจ้าอุปราชแต่งให้พระยาเชียงใต้ พระยาเชียงเงินคุมกองทัพยกขึ้นไปตีเมืองล่า เมืองพง เมืองบาน เมืองของ เมืองนุ่น เมืองเชียงฟ้าได้หลาย หัวเมือง มหาวังเมืองเชียงรุ้งแสนหวีฟ้าเกณฑ์คนยกลงมาต่อรบจับ พระยาเชียงใต้พระยาเชียงเงินขึ้นไปเมืองเชียงรุ้งแสนหวีฟ้า พวกกองทัพเมืองหลวงพระบางก็แตกหนีมาตั้งอยู่เมืองบูรณ์เหนือ แล้วเจ้าสุทธราชอุปราชส่งตัวมหาน้อยไปยังเมืองปักกิ่ง แล้วเลิกทัพกลับมาเมืองหลวงพระบาง เจ้าเมืองหลวงพระบางมังธาตุราชทำราชการอยู่ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลยอิก ๘ ปี

ศักราช ๑๑๘๖ ปีวอกฉศก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลยเสด็จสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล่าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ เจ้ามังธาตุราชเจ้าเมืองหลวงพระบาง จึงมอบบ้านเมืองให้ท้าวพระยาอยู่รักษา แล้วเจ้าเมืองหลวงพระบาง มังธาตุราช คุมเอาดอกไม้เงินทองเครื่องราชบรรณาการกับสิ่งของลงมาทำบุญในการพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพุทธเลิศหล้านภาไลย กราบบังคมทูลพระกรุณาแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า คิดถึงพระบารีพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลยได้ทรงชุบเลี้ยงต่อ ๆ มา จะขอบวชเปนพระภิกษุสงฆ์ ถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชโองการดำรัสสั่งให้เจ้าพนักงานเผดียงพระสงฆ์ ราชาคณะ, อันดับ มา ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม บวชเจ้ามังธาตุราชเจ้าเมืองหลวงพระบางเปนพระภิกขุแล้วโปรดให้ไปจำพรรษาอยู่วัดมหาธาตุ ภายหลังเมืองหลวงพระบางเกิดความไข้ป่วงใหญ่ ผู้คนล้มตายเปนอันมาก ในปีวอกฉศกนั้นครั้นถวายพระเพลิงพระ บรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลยเสร็จแล้ว เจ้ามังธาตุราชผนวชได้พรรษาหนึ่ง ก็ลาผนวชไปอยู่บ้านหลวงบางขุนพรหมทำราชการในกรุงเทพ ฯ

ครั้นศักราช ๑๑๘๘ ปีจออัฐศก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชโองการดำรัสเหนือเกล้า ฯ ว่าเจ้ามังธาตุราชเปนคนกตัญญูคิดถึงพระเดชพระคุณในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้ทรงชุบเลี้ยงมา จึงสละทิ้งบ้านเมืองลงมาบวชถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย แล้วอุสาหะทำราชการอยู่ในกรุงเทพ ฯ ช้านาน เปนคนสัตย์ซื่อมั่นคง จึงโปรดเกล้า ฯ พระราชทานเครื่องยศกกุธภัณฑ์ ๕ ประการให้เจ้ามังธาตุราชเพิ่มเติมอิก แล้วโปรดให้เจ้ามังธาตุราชเจ้าเมืองหลวงพระบางกลับขึ้นไปว่าราชการบ้านเมือง เจ้ามังธาตุ จึงเอาเจ้าโพเนื้อทองบุตรที่ ๓ เจ้าอุ่นคำเปนอุปราชเดี๋ยวนี้ ถวายเปนมหาดเล็กให้ทำราชการอยู่กรุงเทพ ฯ แล้วกราบถวายบังคมลาขึ้นไปเมืองหลวงพระบางในปีจออัฐศกนั้น

ศักราช ๑๑๘๙ ปีกุนนพศก เจ้าอนุเวียงจันท์คิดขบถต่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ กรุงเทพ ฯ เจ้าอนุแต่งให้นักภูมินทร์ไพร่ ๕๐ถือหนังสือขึ้นไปถึงเมืองหลวงพระบางว่า ขอกองทัพมาช่วยตีกรุงเทพ ฯ เจ้าเมืองหลวงพระบางมังธาตุราชไม่เข้าด้วย จึงปฤกษาเจ้าอุปราช เจ้าราชวงษ์ ท้าวพระยาเห็นพร้อมกันว่า ถ้าจะไม่คิดอุบายแต่งให้ท้าวพระยาลงไปพูดจาล่อลวงไว้ เจ้าอนุเวียงจันท์ก็จะยกกองทัพขึ้นมาตีบ้านเมืองหลวงพระบาง จึงแต่งให้พระยาเมืองแพนกับไพร่ ๒๐ เศษลงไปพร้อมกับนักภูมินทร์ พูดจาล่อลวงเจ้าอนุเวียงจันท์ให้ช้าไว้ แล้วเจ้าเมืองหลวงพระบางมังธาตุราชเร่งมีศุภอักษรบอกข้อราชการให้เจ้าศุขเสิมบุตรที่๑ ถือลงมา ณ กรุงเทพ ฯ แล้วเกณฑ์กองทัพให้เจ้าอุปราช เจ้าราชวงษ์ เจ้าอุ่นแก้ว เจ้าแก่นคำ เจ้ามาก พระยาเชียงเหนือ พระยานาเหนือ พระยาตีนแทน คุมไพร่ ๕๐๐๐ เศษเตรียมไว้คอยฟังราชการทางกรุงเทพ ฯ

ฝ่ายเจ้าโพเนื้อทองบุตรเจ้ามังธาตุราชที่๓ ซึ่งถวายเปนมหาดเล็กทำราชการอยู่กรุงเทพ ฯ นั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้บวชเปนภิกขุแล้วขึ้นไปนมัสการพระพุทธบาท กองทัพเมืองเวียงจันท์จับเจ้าโพเนื้อทองขึ้นไปพบกับพระยาเมืองแพน ณ เมืองเวียงจันท์ พระยาเมืองแพนพูดจาล่อลวงเจ้าอนุเวียงจันท์ ขอเจ้าโพเนื้อทองพากันกลับไปเมืองหลวงพระบาง เจ้าเมืองหลวงพระบางจึงทราบว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้พระยาราชสุภาวดีเปน แม่ทัพยกพลทหารขึ้นไปตีเมืองเวียงจันท์ แล้วให้เจ้าอุปราชนายทัพนายกองรีบคุมไพร่พลยกบงมาช่วยกองทัพกรุงเทพ ฯ ตีกระหนาบเมืองเวียงจันท์ ภายหลังแต่งให้เจ้าสุทธ เจ้าจันทราช เจ้าคำเม้าเจ้าคำปานคุมเสบียงอาหารลงไปกราบเรียนพระยาราชสุภาวดีจ่ายไพร่พลกองทัพ แลเมื่อเจ้าศุขเสิมถือศุภอักษรลงมาแจ้งราชการณกรุงเทพ ฯ นั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระโสมนัศ ยินดีดำรัสสรรเสริญเจ้ามังธาตุราชว่าเปนคนซื่อสัตย์ต่อกรุงเทพฯ จึง ให้เจ้าศุขเสิมบุตรถือศุภอักษรเล็ดลอดข้าศึกลงมาได้ จึงโปรดตั้งเจ้าศุขเสิมบุตรเจ้ามังธาตุราชที่ ๑ เปนราชบุตร แล้วให้รีบกลับขึ้นไปเมืองหลวงพระบาง

ถึงศักราช ๑๑๙๐ ปีชวดสัมฤทธิศก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชโองการโปรดให้พระยาพิไชยขึ้นไปเอาตัวเจ้าสุทธอุปราชลงมา ณ กรุงเทพ ฯ ว่าเจ้าอุปราชปิดบังครอบครัวเมืองเวียงจันท์ไว้ เจ้าราชไภยราชวงษ์ เจ้าศุขเสิมราชบุตร เจ้า จันทราชน้องเจ้าศุขเสิมก็ลงมาด้วย เจ้าอุปราชถึงแก่กรรมในกรุงเทพ ฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้า ฯ ตั้งเจ้าราชไภยราชวงษ์เปนอุปราช เจ้าศุขเสิมราชบุตรเปนราชวงษ์ เจ้าจันทราชบุตร เจ้ามังธาตุราชที่ ๒ เปนราชบุตรกลับขึ้นไปรักษาราชการบ้านเมือง

ศักราช ๑๑๙๑ ปีฉลูเอกศก มหาวังเมืองเชียงรุ้งแสนหวีฟ้า มีความพยาบาทเกณฑ์กองทัพลงมาตีเมืองหลวงพระบาง เจ้ามังธาตุราชเจ้าเมืองหลวงพระบางแต่งให้เจ้าราชไภยอุราช เจ้าอุ่นแก้วน้อง เจ้าราชไภยคุมกองทัพขึ้นไปสู้รบ กองทัพมหาวังสู้ไม่ได้แตกหนีไป

ศักราช ๑๑๙๕ ปีมเสงเบญจศก เจ้าพระยาบดินทรเดชาเปนแม่ทัพคุมพลทหารกรุงเทพ ฯ ออกไปรบญวนที่เมืองพนมเปนแต่นั้นมาเมืองญวนกับเมืองหลวงพระบางก็ขาดทางไมตรีไม่ได้ไปมาหากัน

ครั้นศักราช ๑๑๙๗ ปีมแมสัปตศก เจ้าพระยาธรรมาเปนแม่ทัพคุมพลทหารยกขึ้นไปตั้งอยู่เมืองหลวงพระบาง แล้วแต่งให้เจ้าราชไภยอุปราชท้าวพระยาคุมกองทัพขึ้นไปตีเมืองพวน แต่งให้เจ้าอุ่นแก้วน้องเจ้าอุปราช เจ้าสญไชยบุตรเจ้าอุปราชนากที่ ๗ เจ้าแก่นคำบุตรเจ้าหอน่าอภัยที่ ๒ เจ้าคำปานบุตรเจ้ามังที่ ๑ ท้าวพระยาคุมกองทัพยกขึ้นไปตีเมืองแถง จับได้ลาวพวนลาวทรงด่ำส่งลงมาณ กรุงเทพ ฯ เสร็จราชการแล้วเจ้าพระยาธรรมาแม่ทัพเลิกทัพกลับลงมากรุงเทพ ฯ เจ้ามังธาตุราชเจ้าเมืองหลวงพระบางครองเมืองได้ ๒๐ ปี รวมอายุ ๖๔ ปีก็ถึงแก่กรรม
ศักราช ๑๑๙๘ ปีวอกอัฐศก เจ้าอุปราช เจ้าราชวงษ์ มีศุภอักษรแต่งให้เจ้าอุ่นแก้วคุมดอกไม้เงินทองลงมาณ กรุงเทพ ฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่า เจ้าอุปราชหรือเจ้าราชวงษ์คงจะตั้งเปนเจ้าเมืองหลวงพระบางคนหนึ่ง จึ่งโปรดตั้งเจ้าอุ่นแก้ว บุตรเจ้าเมืองหลวงพระบางอนุรุธที่ ๕ เปนน้องเจ้าอุปราชไภย เปนที่ราชวงษ์ขึ้นไปรักษาบ้านเมือง ครั้งเจ้าอุปราช เจ้าราชวงษ์ปลงศพเจ้าเมืองหลวงพระบางเสร็จแล้ว พวกเมืองหึม เมืองคอย เมืองควรตั้งขัดแขงต่อเมืองหลวงพระบาง เจ้าอุปราช เจ้าราชวงษ์ แต่งให้ท้าวพระยาคุมกองทัพขึ้นไปตีจับได้ลาวทรงดำ แต่งให้พระยา ศรีมหานามคุมลงมา ณ กรุงเทพ ฯ ครั้งหนึ่ง

ศักราช ๑๒๐๐ ปีจอสัมฤทธิศก เจ้าอุปราช เจ้าราชวงษ์มีความวิวาทกันลงมา ณ กรุงเทพ ฯ เจ้าราชวงษ์ก็คุมลาวทรงดำลงมา ณ กรุงเทพ ฯ อิกครั้งหนึ่ง เจ้าราชวงษ์ฟ้องเจ้าอุปราชว่าแต่งท้าวคำฟันไปพูดจากับญวน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นด้วยจึงโปรดเกล้า ฯ ตั้งเจ้าราชวงษ์ศุขเสิมบุตรเจ้ามังธาตุราชที่ ๑ เปนเจ้าเมืองหลวงพระบาง เจ้าอุปราชราชไภยบุตรเจ้าอนุรุธที่ ๔ เปนที่เจ้าอภัยสุริยวงษาผู้ช่วยว่าราชการ เจ้าอุ่นแก้วราชวงษ์บุตรเจ้าอนุรุธ ที่ ๕ เปนอุปราช เจ้าจันทราชราชบุตร ๆ เจ้ามังธาตุราชที่ ๒ เปนราชวงษ์ เจ้าแก่นคำบุตรเจ้าอภัยหอน่าที่ ๒ เปนราชบุตร ครั้นเจ้าอภัยสุริยวงษาผู้ช่วยราชการขึ้นไปถึงท่าปากลายก้หนีไปเมืองเชียงคาน เจ้าเมืองหลวงพระบางแต่งให้ท้าวพระยาตามจับ ได้ตัวเจ้าอภัยสุริยวงษาส่งลงมา ณ กรุงเทพ ฯ เจ้าอภัยสุริยวงษาถึงแก่กรรมที่กรุงเทพ ฯ

เจ้าเมืองหลวงพระบางศุขเสิมมีบุตรชาย เจ้าคำเง่า ๑ เจ้าบุญเพ็ชร ๑ เจ้าพรหมจักร ๑ เจ้าคำแสง ๑ เจ้าพรหมา ๑ เจ้า อินทจักร ๑ บุตรหญิง เจ้ากัญญา ๑ เจ้าคำอ้น ๑ เจ้าบุดดี ๑ เจ้าบับภา ๑ เจ้าคำสอน ๑ เจ้าอุ่นคำ ๑ เจ้าคำปล้อง ๑ รวม ๑๓ คน

เจ้าอุปราชอุ่นแก้วมีบุตรชายเจ้าศิริษา๑ เจ้าสุวรรณพรหมา ๑ เจ้าทองคำ ๑ เจ้าคำมา ๑ บุตรหญิง เจ้าสุพรรณ ๑ เจ้าคำปิ่น ๑ เจ้าคำซาว ๑ รวม ๗ คน

เจ้าราชบุตรแก่นคำมีบุตรชาย เจ้าคำเพ็ง ๑ เจ้าคำเล็ก ๑ เจ้าพรหมา ๑ เจ้าคำโสม ๑ เจ้าคำย่น ๑ เจ้าดอกแก้ว ๑ บุตรหญิง เจ้าทองดี ๑ เจ้าคำกอง ๑ เจ้าคำล่า ๑ เจ้าคำตือ ๑ เจ้าคำวาว ๑ เจ้าหุ่นจีน ๑ รวม ๑๒ คน

เจ้าเมืองหลวงพระบางศุขเสิมครองเมืองได้๑๐ ปีถึงศักราช ๑๒๑๐ ปีวอกสัมฤทธิศกเจ้าหน่อคำบุตรหม่อมมหาวัง เจ้ามหาไชยงาคำบุตรมหาน้อยเมืองฮำยกกองทัพมาตีเจ้าอุปราชาเมืองเชียงรุ้งกับมหาไชยเมืองพงได้ต่อรบกันเปนสามารถ ขณะนั้นเจ้าเมืองหลวงพระบางลงมาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวณกรุงเทพ ฯ กราบถวายบังคมลาขึ้นไปถึงท่าปากลาย จึงแต่งให้พระยาเมืองขวา ถือหนังสือขึ้นไปเมืองหลวงพระบางว่า ให้เจ้าอุปราชเปนแม่ทัพคุมไพร่ ๕๐๐๐ คนรีบยกขึ้นไปคิดราชการ แล้วให้แต่งท้าวพระยาขึ้นไปเกลี้ยกล่อมมหาไชยท้าวพระยาเมืองล่า เมืองพง

ณ วันเดือนยี่ แรมแปดค่ำปีวอกสัมฤทธิศก เจ้าอุปราชคุมไพร่ ๕๐๐๐ คนยกจากเมืองหลวงพระบาง ขึ้นไปตั้งอยู่เมืองไซทางไกลเมืองหลวงพระบาง ๗ คืน เจ้าอุปราชแต่งให้เจ้าอุ่นคำคุมไพร่ ๑๐๐๐ คนขึ้นไปตั้งอยู่บางแพงโพทอง๑ ให้เจ้าษาคุมไพร่ ๑๐๐๐ คนขึ้นไปตั้งอยู่เมืองเงิน๑ ให้พระยาศรีนครโลก พระยานาเหนือคุมไพร่ ๘๐๐ คนให้ตั้งอยู่เมืองบูรณ์ใต้ ๑ ให้เจ้าพรหมา เจ้าสุก พระยาจ่าบ้านคุมไพร่ ๘๐๐ คนให้ตั้งอยู่เมืองวาอาฮิน ๑ คอยเกลี้ยกล่อมได้ครอบครัวพวกอุปราชา มหาไชย เจ้าเมืองหลวงพระบางจึงแต่งให้เจ้าสญไชยเจ้าคำปานขึ้นไปตั้งอยู่เมืองซือ เมืองงอย รับส่งครอบครัวลงมาเมืองหลวงพระบาง ครํ้น ณ เดือนสี่ข้างแรม เจ้าอุปราชาเมืองเชียงรุ้งพาครอบครัวหนีเข้ามาเมืองบูรณ์เหนือ พระยาศรีนครโลกให้พระยานาเหนือพาเจ้าอุปราชาแลครอบครัวลงมาเมืองไซ ครั้นณเดือนห้าข้างขึ้นเจ้าอุปราชแต่งให้นายทัพนายกองอยู่รักษาเขตรแดนแล้วพาเจ้าอุปราชครอบครัวลงมาเมืองหลวงพระบาง ครั้นณเดือนหกข้างขึ้นปีรกาเอกศก มารดา, น้องหญิง, ภรรยาเจ้าอุปราชาหนี เข้ามาอยู่เก่วกายแขวงเมืองหลวงพระบาง เจ้าพรหมมา เจ้าสุกแต่ง ให้ท้าวพระยาไปเกลี้ยกล่อมพาเข้ามาเมืองวาอาฮิน ณเดือนหกแรมเก้าค่ำ เจ้าพรหมา เจ้าสุกพามารดา , น้องหญิง, ภรรยาเจ้าอุปราชาลงมาถึงเมืองหลวงพระบางณวันเดือนเจ็ดขึ้นค่ำหนึ่งปีรกาเอกศก ครั้น ณ เดือนเก้าขึ้นเจ็ดค่ำ เจ้าเมืองหลวงพระบางแต่งให้เจ้าอุปราช เจ้าอุ่นคำ เจ้าษา เจ้าพรหมา เจ้าสุก เจ้าสิง พระยาเชียงใต้ ถือศุภอักษรดอกไม้เงินทองเครื่องราชบรรณาการ พาตัวเจ้าอุปราชาลงมา เฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวณ กรุงเทพ ฯ เจ้าเมืองหลวงพระบางศุขเสิมครองเมืองได้ ๑๒ ปี รวมอายุ ๕๓ ปี ถึงแก่กรรมในเดือนสิบแรมสิบค่ำศักราช ๑๒๑๒ ปีจอโทศก ที่เมืองหลวงพระบางก็เกิดความไข้ป่วงใหญ่ผู้คนตายมาก ฝ่ายเจ้าอุปราชอุ่นแก้วลงมาอยู่ ณ กรุงเทพ ฯ ก็ถึงแก่กรรมในเดือนอ้ายแรมสามค่ำปีจอโทศก ครั้นณเดือนห้าห้าขึ้นค่ำหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ศักราช ๑๒๑๓ ปีกุญตรีศก ครั้น ณ เดือนห้าแรมสามค่ำพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการดำรัส สั่งให้เจ้าพนักงานชักศพเจ้าอุปราชอุ่นแก้วไปเข้าสู่เมรุวัดทอง แล้ว พระราชทานฝ้าไตร ๑๕ ไตรเงินสองชั่งให้ทำบุญให้ทานในการศพ แล้วได้พระราชทานเงินตราถวายพระสงฆ์สวดพระอภิธรรมคืนละสองตำลึง ๔เดือนเปนเงิน ๑๒ ชั่ง ครั้น ณ เดือนสิบปีกุญตรีศก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เจ้าอุ่นค่ำ เจ้าษา เจ้าพรหมา เจ้าสิง เจ้าสุก ท้าวพระยาแลเจ้าอุปราชขึ้นไปเมืองหลวงพระบาง โปรดพระราชทานสิ่งของขึ้นไปทำบุญให้ทานในการศพเจ้าเมืองหลวงพระบางศุขเสิม แล้โปรดให้หลวงเทเพนทร์ ขุนวิเสศเปนข้าหลวงคุมหีบศิลาน่าเพลิงขึ้นไปเผาศพเจ้าเมืองหลวงพระบางศุขเสิมเสร็จแล้ว เจ้าราชวงษ์จันทราชแลเจ้านายบุตรหลานท้าวพระยาจึงพาเจ้าอุปราชาเมืองเชียงรุ้ง กับคุมดอกไม้ทองเงินลงมา ณ กรุงเทพ ฯ

ศักราช ๑๒๑๔ ปีชวดจัตวาศก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้า ฯ ตั้งเจ้าราชวงษ์จันทราชบุตรเจ้ามังธาตุราชที่ ๒ เปนเจ้าเมืองหลวงพระบาง เจ้าอุ่นคำบุตรเจ้ามังธาตุราชที่ ๔ เปนอุปราช เจ้าคำบัวบุตรเจ้ามังธาตุราชที่ ๕ เปนราชวงษ์พาอุปราชากลับขึ้นไปเมืองหลวงพระบาง ในเดือนอ้ายปีชวดจัตวาศกเจ้าเมืองหลวงพระบาง ได้แต่งให้ท้าวพระยาคุมเครื่องราชบรรณาการจำนวนปีชวดจัตวาศก ไปเมืองปักกิ่งครั้งหนึ่งไปถึงเมืองแสหลวงบ้านเมืองเมืองปักกิ่งเกิพดทัพศึกวิวาทรบพุ่งกัน เจ้าเมืองแสหลวง ให้ท้าวพระยาเมืองหลวงพระบางส่งเครื่องบรรณาการไว้ แล้วให้กลับลงมาเมืองหลวงพระบาง

ศักราช ๑๒๑๕ ปีฉลูเบญจศก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิทเปนแม่ทัพคุมไพร่พลทหารยกขึ้นไปตีเมืองเชียงตุง เจ้าเมืองหลวงพระบาง แต่งให้เจ้าอุปราช เจ้าราชวงษ์ เจ้าคำเม้า เจ้ากำ เจ้าษาคุมไพร่ ๓๐๐๐คน ยกขึ้นไปช่วยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิทระดมตีเมืองเชียงตุง เจ้าษาถึงแก่กรรมในที่รบ แต่เจ้าคำเม้าหายไป ครั้นเลิกทัพกลับมา เจ้าอุปราชาเมืองเชียงรุ้งก็ตามเสด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิทลงมา ณ กรุงเทพ ฯ

ครั้นศักราช ๑๒๑๖ ปีขาลฉศก นายเชียงจำปาคนเมืองหลวงพระบาง ท้าวอิน ท้าวบุญคงคนเมืองน่าน ซึ่งพวกเมืองเชียงตุงจับไว้ หนีลงมาถึงกรุงเทพฯ ว่าพม่าเกณฑ์คนสามแสนจะยกลงมาตีเมืองเชียงใหม่สองแสน เมืองหลวงพระบางแสนหนึ่ง ท่านเสนาบดี ทั้งปวงจึงนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา แด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทราบฝ่าลอองธุลีพระบาทแล้ว จึงโปรดเกล้า ฯ ให้พระยาสีหราชเดโชไชย พระยาราชวรานุกูลคุมพลทหารพาอุปราชาขึ้นไปถึงเมืองหลวงพระบาง ในเดือนสามข้างขึ้นปีขาลฉศก จัดการรักษาบ้านเมืองแลค่ายกำแพงหอรบเสร็จแล้วตั้งฟังราชการอยู่ ก็ไม่มีเหตุการแลทัพศึกสิ่งใด พระยาสีหราชเดโชไชย พระยาราชวรานุกูลคุมไพร่พลแลพาอุปราชากลับลงมา ณ กรุงเทพ ฯ

ครั้นศักราช ๑๒๑๗ ในเดือนห้าปีมโรงยังเปนสัปตศก พระยาราชพินิจจัยเชิญศุภอักษรแลพามหาอุปราชา ขึ้นไปเมืองหลวงพระบาง ให้เจ้าเมืองหลวงพระบางแต่งท้าวพระยาพาเจ้ามหาอุปราชา ขึ้นไปส่งบ้านเมือง ครั้น ณ เดือนหกแรมแปดค่ำปีมโรงอัฐศก เจ้าเมืองหลวงพระบางแต่งให้พระยาศรีมหานาม พระยากวานเล็กน้อยพาเจ้ามหาอุปราชาแลมารดาน้องหญิงภรรยาครอบครัวขึ้นไปถึงเมืองบูรณ์เหนือแขวงเมืองหลวงพระบางพรมแดนต่อแขวงเมืองเชียงรุ้ง เจ้ามหาอุปราชาให้พระยาศรีมหานาม พระยากวานเล็กน้อยพักครอบครัวรออยู่ที่เมืองบูรณ์เหนือก่อน ด้วยเมืองเชียงรุ้งยังไม่เปนปรกติ เจ้ามหาอุปราชาจะขึ้นไปฟังเหตุการร้ายดีประการใดจึงจะแต่งคนถือหนังสือลงมารับครอบครัวครั้งหลัง เจ้ามหาอุปราชาขึ้นไปถึงเมืองพง คิดอุบายให้มหาไชยเมืองพงขึ้นไปส่ง ครั้นไปถึงเมืองฮำ เจ้ามหาอุปราชาพักอยู่เมืองฮำ มหาไชยตั้งอยู่ท่าตัวเหนือเมืองฮำทางใกล้กันวันหนึ่งแล้วเจ้ามหาอุปราชาจึงแต่งหนังสือขึ้นไปถึงเจ้าราชบุตรเมืองเชียงรุ้ง ๆ แต่งให้อาญาน้อยเมืองฮำ คุมไพร่พลยกไปตีพวกมหาไชยแตกหนีลง มาเมืองพง ครั้นเดือนแปดปีมโรงอัฐศก มหาไชยเมืองพง จึงเกณฑ์กองทัพยกขึ้นไปตีเมืองรา เมืองลองแตก มหาไชยจับได้ เจ้ามหาอุปราชาที่วัดใหม่เมืองลอง เมื่อเดือนสิบสองขึ้นหกค่ำปีมเสงนพศก พามาถึงเมืองฮำก็ฆ่ามหาอุปราชาเสียในวันเดือนสิบสอบขึ้นแปดค่ำ แล้วมหาไชยยกกองทัพขึ้นไปตีเมืองแจ เจ้าราชบุตรเมือง เชียงรุ้ง อาญาน้อยเมืองฮำแลพวกเมืองโรง เมืองแจงหกพันนาฝ่ายตวันตกพร้อมกันยกเข้าตีกองทัพมหาไชยเจ้าเมืองล่า เจ้าเมืองพงได้สู้รบกันเปนสามารถ ผู้คนล้มตายเปนอันมาก เจ้าเมืองล่าตายในที่รบ มหาไชยเจ้าเมืองพงทนฝีมือไม่ได้พาครอบครัวหนีลงมาพักอยู่ลองเฮียดแขวงเมืองหลวงพระบาง

ศักราช ๑๒๑๙ ปีมเสงนพศกในเดือนสี่ข้างขึ้น มหาไชยกลับยกกองทัพขึ้นไปตีเมืองโรงได้สู้รบกันเปนสามารถ มหาชัยถูกปืนตายในที่รบ แล้วนายยงบุตรมหาไชยกับนายทัพนายกองพากันแตกหนีลงมาตั้งอยู่ลองเฮียด แล้วส่งครอบครัวเข้ามาพักอยู่นาหินเมืองไซ เจ้าเมืองหลวงพระบางแต่งให้พระยาเมืองซ้ายคุมไพร่ขึ้นไปตั้งอยู่เมืองไซ พระยาเชียงใต้คุมไพร่ไปตั้งอยู่บ้านแพงโพทอง พระยาหมื่นน่าคุมไพ่ร่ไปตั้งอยู่เมืองอวย พระยาศรีนครโลกเพี้ยจ่าหมื่นคุมไพรไปตั้งอยู่เมืองบูรณ์ใต้คอยฟังราชการแลรักษาป้องกันเขตรแดน

ครั้นศักราช ๑๒๒๒ ปีวอกโทศก ในเดือนหกขึ้นสิบห้าค่ำ นายยงบุตรมหาไชยท้าวพระยาเมืองพงยกกองทัพเข้ามาตีทัพพระยาเมืองซ้าย พระยาเมืองซ้ายนายทัพนายกองทั้ง ๔ ทัพช่วยกันรบพุ่งพวกลี้อพวกลาวตายบ้าง กองทัพพระยาเมืองซ้ายแลนายทัพนายกองทั้งปวงเสียท่วงทีแตกหนีลงมาน้ำปาดน้ำอู เจ้าเมืองหลวงพระบางจึงแต่งให้เจ้าราชวงษ์เปนแม่ทัพ เจ้าคำปาน เจ้าสาร เจ้าก่ำ เจ้ายอด ท้าวพระยาคุมไพร่พลยกขึ้นไปตั้งอยู่น้ำปาด เมืองงอย น้ำอูทัพหนึ่ง เจ้าราชบุตรเปนแม่ทัพ เจ้าก่ำ เจ้าฮวด เจ้าเขียว เจ้าคำเพ็ง ท้าวพระยาคุมไพร่พลขึ้นไปอยู่บ้านเทียวใต้เมืองไซทัพหนึ่ง แล้วเจ้าราชวงษ์ เจ้าราชบุตรแต่งให้นายกองยกขึ้นไปตามนายยง ถึงเมืองไซหาทันนายยงไม่ จับได้แต่ช้างพัง ๑ โค่าง ๓๘ หลัง แล้วนายยงพาครอบครัวหนีไปพักอยู่เมืองแวน ครั้นณเดือนแปดปีวอกโทศก เจ้าราชวงษ์ เจ้าราชบุตรให้นายทัพนายกองอยู่ประจำรักษาแล้วเลิกทัพกลับลงมาเมืองหลวงพระบาง

ศักราช ๑๒๒๓ ปี ในเดือนยี่ขึ้นสิบเอ็จค่ำปีรกาตรีศก นายยงท้าวพระยาเมืองล่าเมืองพงยกกองทัพมาตีเมืองบูรณ์เหนือ เมืองยั้ว เมืองบูรณ์ใต้ เมืองเงิน เมืองรวงใน เมืองอาย บ้านแพงโพทอง เมืองล่า เมืองไซซึ่งขึ้นแก่เมืองหลวงพระบาง บรรดาเจ้าเมืองท้าวพระยานายทัพนายกองซึ่งอยู่ประจำรักษาได้ออกสู้รบป้องกันเหลือกำลังทนฝีมือกองทัพนายยงไม่ได้ แตกหนีมาทางน้ำอูบ้างน้ำของบ้าง นายยงคุมกองทัพยกเข้ามาตั้งอยู่นาหินเมืองไซทัพ ๑ นาแลทัพ ๑ นาสาวทัพ๑เมืองแปงบ้านพระยาพิศวงลือเมืองล่าทัพ๑ สี่ทัพ ครั้งนั้นเจ้าเมืองหลวงพระบางลงมาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท ณ กรุงเทพ ฯ เจ้าอุปราชแต่งให้เจ้าราชวงษ์เปนแม่ทัพ เจ้าคำปาน เจ้าพรหมา พระยาเมืองขวา พระยาหมื่นน่า พระยาเมืองแพนคุมไพร่พลยกขึ้นไปทางลาดหารเมืองงานาโคกทัพ ๑ เจ้าราชบุตรเปนแม่ทัพ พระยาคำมหาโนกพระยาเชียงเหนือคุมไพร่ยกไปทางน้ำปาดทัพ ๑ แล้วนัดให้ยกไปบรรจบกันที่เมืองไซครั้น ณ เดือนยี่แรมหกค่ำ พระยาเมืองขวา พระยาหมื่นน่า พระยาเมืองแพนยกขึ้นไปตั้งอยู่นาโกก แรมสิบเอ็จสิบสองค่ำ เจ้าคำปาน เจ้าพรหมายกไปตั้งอยู่เมืองงา แรมสิบสี่ค่ำ เจ้าราชวงษ์เปนแม่ทัพยกไปตั้งอยู่ลาดหาร เจ้าราชบุตรยกขึ้นไปตั้งอยู่ปากน้ำเมืองงอย ครั้น ณ เดือนสามขึ้นสิบสองค่ำเจ้าคำปานเจ้าพรหมายกไปตั้งอยู่นาโกก ให้พระยาเมืองขวา พระยาหมื่นน่า พระยาเมืองแพน เลื่อนทัพขึ้นไปตั้งอยู่เมืองแปงปากทาง แล้วนัดทัพพร้อมกันเข้าระดมตีทัพนายยง ยังหาถึงวันนัดไม่ พวกกองทัพพระยาเมืองขวา พระยาหมื่นน่า พระยาเมืองแพนยกเข้าตีชิงได้ค่ายนายยงลูกหนึ่ง สู้รบกันอยู่วันหนึ่ง กองทัพพระยาเมืองขวาสิ้นลูกกระสุนดินดำ ก็ถอยทัพลงมาทางโมกกกลากลิ่งเชียงคานน้ำงาครั้น ณ เดือนสามแรมสิบเอ็จค่ำ เจ้าราชบุตรให้พระยาศรีมหาโน เพี้ยจ่าหมื่นยกเข้าตีทัพนายยง ๆ แต่งทัพออกสกัดหลัง พระยาศรีมหาโนเพี้ยจ่าหมื่นเสียท่วงทีแตกหนีไป เจ้าคำปาน เจ้าพรหมา แต่งให้พระยาคำชมภู พระยาวรวงษาคุมไพร่ ๘๐๐ คนยกขึ้นไป เจ้าคำปาน เจ้าพรหมาก็ยกหนุนตามขึ้นไปทางเมืองไซ นายยงรู้ว่ากองทัพยกขึ้นไปมากก็เลิกทัพหนีไป เจ้าคำปาน เจ้าพรหมาให้พระยาคำชมภู พระยาวรวงษายกติดตามขึ้นไปถึงเมืองบูรณ์เหนือหาทันทัพนายยงไม่ แล้วน้อยเขยเจ้าเมืองอูเหนือ เจ้าเมืองสม เจ้าเมืองงาย พระยาสิงคำลื้อยกกองทัพเข้าล้อมตีกองทัพพระยาคำชมภู พระยาวรวงษาในเวลากลางคืนได้สู้รบกันเปนสามารถพระยาวรวงษาถึงแก่กรรมในที่รบ พระยาคำชมภูจึงถอยทัพเข้าภูน้อยงวงกลาง เจ้าราชบุตรรู้ว่าทัพพระยาคำชมภูเสียที จึงให้พระยาเชียงเหนือคุมไพร่๑๓๐๐ คนยกไปสกัดหลังทัพลื้อ ได้รบพุ่งกันเปนสามารถ เจ้าเมืองสมเจ้าเมืองงายกับน้องเขยเจ้าเมืองอูเหนือ ถูกปืนพวกเมืองหลวงพระบางตายในที่รบ ไพร่พลกองทัพแตกกระจัดกระจายหนีไป เจ้าราชวงษ์ เจ้าราชบุตรนายทัพนายกองเห็นราชการสงบอยู่ จึงแต่งให้นายทัพนายกองอยู่ประจำรักษาเขตรแดน แล้วเลิกทัพกลับมาเมืองหลวงพระบาง

ศักราช๑๒๒๔ เดือนอ้ายปีจอจัตวาศก ฮ่อซางเตอะยกกองทัพมาตีพระยาหลวงข้าต่อเปนหัวอยู่แขวงเมืองหลวงพระบาง ได้สู้รบกันประมาณสี่ห้าวัน พระยาหลวงข้าต่อทนฝีมือฮ่อซางเตอะไม่ได้แตกหนีลงมาเมืองวา เมืองงาย เจ้าเมืองหลวงพระบางแต่งให้พระยาเชียงเหนือ ท้าวคำฟั่นคุมไพร่ ๑๐๐๐ เลิศยกขึ้นไปตีฮ่อซางเตอะทนฝีมือไม่ได้แตกหนีไป

ตั้งแต่ศักราช๑๒๑๔ ปีชวดจัตวาศกเจ้าเมืองหลวงพระบางแต่งบรรณาการไปเมืองปักกิ่งครั้งหนึ่ง มาถึงศักราช ๑๒๒๖ ปีชวดฉศกนับได้ ๑๓ ปี ยังหาได้ไปบรรณาการไม่

ในศักราช ๑๒๒๖ ปีชวดฉศก ท้าวพระยาเมืองเชียงรุ้งบอกมาถึงเมืองหลวงพระบาง ว่าวันอาทิตย์เดือนหกขึ้นหกค่ำปีชวดฉศก เจ้าราชบุตรเจ้าเมืองเชียงรุ้งถึงแก่กรรม เจ้าอังวะแต่งให้อมุขิมังษา ๑ ไพร่ ๒๐๐ คนลงมาเมืองเชียงรุ้ง ฝ่ายเจ้าปักกิ่ง ก็แต่งให้ฮ่อตัวนาย ๑ ไพร่ ๒๐๐ คนลงมาพร้อมกัน ณ เมืองเชียงรุ้ง ครั้นวันศุกรเดือนแปด ขึ้นสิบสี่ค่ำปีชวดฉศก พม่าฮ่อพร้อมกันตั้งบุตรเจ้ามหาอุปราชาเปน เจ้าเมืองเชียงรุ้ง บุตรเจ้ามหาอุปราชาคนนี้เกิดเมื่อศักราช ๑๒๑๐ ปีวอกสัมฤทธิศก อายุได้ ๑๗ ปี ได้เปนเจ้าเมืองเชียงรุ้ง

ครั้นศักราช ๑๒๒๘ เดือนเก้าปีขาลอัฐศก เจ้าอุปราช เจ้าราชวงษ์เมืองหลวงพระบางลงมาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท ณ กรุงเทพ ฯ กราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบางขึ้นไปเมืองหลวงพระบางตามเดิม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดพระราชทานพระบางให้เจ้าอุปราช เจ้าราชวงษ์นำขึ้นไปไว้เมืองหลวงพระบาง เมื่อโปรดพระราชทานพระบางให้เจ้าอุปราชเจ้าราชวงษ์นั้นก็เปนมหัศจรรย์เห็นพระฉายรูปพระปฏิมากรขึ้นไปติดอยู่ที่ซุ้มพระปรางวัดจักรวรรดิราชาวาศริมกับหอที่พระบางอยู่ ขุนนางแลราษฎรแตกตื่นกันไปทำสักการบูชา มีพิณพาทย์กลองแขกแตรสังข์เวียนเทียนสมโภชรอบพระปรางเปนอันมาก แต่สมโภชอยู่นั้นประมาณสี่ห้าเดือน แต่ขุนนางราษฎรทั้งปวงที่มาดูเห็นพระฉายไม่ต้องกัน บางคนเห็นเปนสีทองบ้างสีนวนบ้างสีแดงบ้าง ดูใกล้ริมฐานพระปรางไม่เห็นเปนรูปพระฉายดูไกลจึงเห็น ครั้น ณ วันอาทิตย์เดือนห้าแรมสองค่ำศักราช ๑๒๒๙ปีเถาะนพศก ได้เชิญพระบางลงเรือตั้งกระบวนแห่ไปจากกรุงเทพฯ เจ้าอุปราชเจ้าราชวงษ์นำพระบางขึ้นไปถึงเมืองพิไชย ณวันเดือนแปดขึ้นค่ำหนึ่ง ไปจากเมืองพิไชยวันเสาร์เดือนแปดขึ้นห้าค่ำ ถึงเมืองหลวง พระบางวันพุฒเดือนสิบขึ้นหกค่ำปีเถาะนพศก ครั้น ณ วันเสาร์เดือนสามขึ้นค่ำหนึ่งปีเถาะนพศก กรมการเมืองพิไชยบอกส่งใบบอกเจ้าเมืองหลวงพระบางลงมา มีความในใบบอกว่า เจ้าเมืองหลวง พระบางให้เสนาบดีมีหนังสือมาถึงหลวงพิไชยชุมพลมหาดไทยเมือง พิไชยว่า เจ้าอุปราชเจ้าราชวงษ์เชิญพระบางไปถึงบ้านตาแสงแขวงเมืองหลวงพระบาง ณ วันอังคารเดือนเก้าแรมห้าค่ำ พระครู พระสงฆ์เจ้าเมืองหลวงพระบาง เสนาบดี ไพร่บ้านพลเมืองพร้อมกันมารับพระบางไปพักอยู่ที่ท่าเชียงแมน มีการสมโภช ๑๕ วัน ณวันพุฒ เดือนสิบขึ้นหกค่ำ เจ้าเมืองหลวงพระบาง เจ้าอุปราช เจ้าราชวงษ์ เสนาบดี พระสงฆ์สามเณร แลไพร่พลเมืองทั้งปวง เชิญพระบางลงเรือตั้งกระบวนแห่มีพิณพาทย์แตรสังข์มโหรทึก ข้ามน้ำไปขึ้นท่าวัดช้างสรงน้ำพระบางเสร็จแล้วตั้งกระบวนแห่ช้างม้ามีพิณพาทย์เครื่องเล่นต่าง ๆ แห่พระบางไปไว้ในหอนั่งเจ้าเมืองหลวงพระบาง แล้วนิมนต์พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์เลี้ยงพระ มีเทศนามีลครสมโภช๕ วัน ๕ คืน แล้วเกณฑ์คนผลัดเปลี่ยนกันรักษาพระบางอยู่ทุกวันเจ้าเมืองหลวงพระบาง เจ้าอุปราช เจ้าราชวงษ์ เจ้าราชบุตร เสนาบดีทั้งปวง ให้ช่างสร้างวิหารไว้พระบางในวังเจ้าเมืองหลวงพระบางก่อแต่ดินขึ้นไปถึงพื้นสูง ๔ ศอกคืบ แต่พื้นไปถึงหัวเทียนสูง ๙ ศอก คืบขื่อกว้าง ๓ วา ยาว ๖ ห้องมีเฉลียงรอบให้ช่างทำเปนมณฑป ๓ ชั้น ช่างยังทำอยู่ทุกวัน ทำเสร็จแล้วจะได้เชิญพระบางขึ้นสถิตย์อยู่ให้สมควร อนึ่งราชการทางเมืองไซก็ได้แต่งให้พระยาเมืองขวา เพี้ยล่ามขึ้นไปตั้งเมืองล่า เมืองไว เมืองอาย เมืองเงิน เมืองยอ เมืองบูรณ์เหนือ เมืองบูรณ์ใต้ พระยาเมืองขวา เพี้ยล่ามมาแจ้งว่า ราชการทางเมืองขวา เมืองอาฮิน เมืองไลสงบอยู่ ฝ่ายเมืองแถงแลหัวพันทั้งหก ก็มาคำนับทุกปีมิได้ขาด ถ้ามีราชการประการใด จะบอกลงมาให้ทราบครั้งหลัง บอกมา ณ วันเสาร์เดือนสิบเอ็ดขึ้นสิบสี่ค่ำปีเถาะนพศก

……………………………………..